วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

2,026 ประโยชน์ของยา Beta-blocker ในการักษาลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วชนิดเรื้อรัง

Benefit of beta-blocker therapy in chronic MR
J watch, September 27, 2012

ไม่มียาที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีมีลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วที่ยังไม่มีอาการ (asymptomatic mitral regurgitation) หรือก่อนการมีหลักฐานของการมีหัวใจห้องล่างซ้าย ( left ventricular, LV) ผิดปกติที่ต้องการการผ่าตัด
เป็นการศึกษานี้เป็นแบบ randomized, double-blind study โดยมีผู้ป่วย 38 คน (อายุเฉลี่ย 55 ปี ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิง) ซึ่งที่มีลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วระดับปานกลางหรือรุนแรง, ejection fraction (EF) มากกว่า 55% และ New York Heart Association class ที่ I หรือ II ซึ่งจะได้รับ placebo หรือ metoprolol (ขนาดสูงสุดของ 100 มก. ต่อวัน) เป็นเวลา 2 ปี
ใช้ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อประเมิน LV geometry โดยดำเนินการในช่วงเวลา 6 เดือน (สามารถติดตามข้อมูลผู้ป่วยได้ 36 คน) ที่ 2 ปี พบว่า LVEF ไม่เปลี่ยนแปลงในกลุ่มที่ได้ metoprolol แต่ลดลงในกลุ่ม placebo โดยเฉลี่ย 5% (95% confidence interval 1.92% -7.92%, p = 0.006)
ซึ่งสังเกตพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มในเรื่องของ LV volume, LV mass หรือ systolic longitudinal strain rate, ส่วน LV diastolic function ซึ่งวัดโดย peak early filling rate พบว่าลดลงในกลุ่ม placebo แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในกลุ่ม metoprolol ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ในหัวข้อความคิดเห็นกล่าวไว้ว่า ในการศึกษานำร่องนี้ ยา beta1 adrenergic receptor blockade ทำให้การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายที่ 2 ปี ดีขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วจากความเสื่อมชนิดรุนแรงทียังไม่มีอาการ การศึกษานี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ผลลัพท์สุดท้ายในทางคลินิก แต่ให้ข้อมูลสำหรับการทดลองทางคลินิกที่มีขนาดใหญ่เพื่อตรวจสอบว่าการรักษาด้วย beta-blocker สามารถลดอุบัติการณ์ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือชลอความจำเป็นต้องผ่าตัด

Ref: http://cardiology.jwatch.org/cgi/content/full/2012/926/2?q=etoc_jwcard

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น