วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

2,032 ภาวะการทำงานของไตบกพร่องเฉียบพลัน (acute kidney injury)

Acute kidney injury: A guide to diagnosis and management
American Family Physician
October 1 2012 Vol. 86 No. 7

ภาวะการทำงานของไตบกพร่องเฉียบพลัน (acute kidney injury) เป็นลักษณะการทำงานลดลงทันทีทันใดในการทำงานของไต แสดงให้เห็นโดยการเพิ่มขึ้นของระดับ creatinine ในเลือด โดยอาจจะมีหรือไม่มีปัสสาวะออกน้อยก็ได้ ช่วงของการบกพร่องมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง บางครั้งต้องใช้การบำบัดทดแทนไต การประเมินและการวินิจฉัยสามารถให้การจำแนกภาวะนี้ได้เป็น prerenal, intrinsic renal หรือ postrenal
การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นอันรวมถึงประวัติเพื่อดูว่ามีการใช้ยาที่มีพิษต่อไตหรือโรคทางระบบ (systemic illnesses) ที่อาจทำให้เกิดการใหลเวียนของเลือดไปที่ไตลดลงหรือมีผลทำให้ความผิดปกติในการทำงานของไตโดยตรง การตรวจร่างกายควรประเมินสภาวะของปริมาณสารน้ำในหลอดเลือดและค้นหาผื่นผิวหนังที่บ่งบอกถึงความเจ็บป่วยทางระบบ การประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นควรจะรวมถึงการตรวจวัดระดับ creatinine ในเลือด, ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, การตรวจปัสสาวะ และ fractional excretion of sodium อัลตร้าซาวด์ของไตควรทำในผู้ป่วยส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่มีอายุมากกว่าที่จะตัดภาวะของการอุดตันในทางเดินปัสสาวะออกไป
การดูแลรักษาภาวะการทำงานของไตบกพร่องเฉียบพลันจะเกี่ยวข้องกับการทำให้การทำงานของไตคืนกลับด้วยการให้สารน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อไตและสารทึบรังสี (contrast media) และการแก้ไขความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลท์ การบำบัดทดแทนไต (การฟอกไต) มีข้อบ่งชี้สำหรับภาวะโปแตสเซียมในเลือดดสูงที่ดื้อต่อการรักษา, ภาวะน้ำเกิน, ภาวะเลือดเป็นกรดที่แก้ไขได้ยาก, มีผลให้เกิดความผิดปกติของสมองจากการมีของเสียคั่ง, มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือเยื้อหุ้มปอดอักเสบ (ซึ่งจะเกิดการมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจหรือเยื้อหุ้มปอดดังกล่าว) และเพื่อการกำจัดสารพิษบางอย่าง
การรับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยง (เช่น อายุที่มาก, การติดเชื้อแบคทีเรีย, ภาวะสารน้ำในร่างกายลดลง / ภาวะช็อกที่มีความดันโลหิตลดลง, การผ่าตัดหัวใจ. การได้รับสารทึบรังสี, เบาหวาน, การมีโรคไตเรื้อรังเดิมมาก่อน, หัวใจล้มเหลว, ตับวาย) ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ การทำงานเป็นทีมเพื่อการเข้าถึง (approaches) สำหรับการป้องกัน การวินิจฉัยตั้งแต่ในระยะแรก และการจัดการเชิงรุก (aggressive management) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพื่อการปรับปรุงผลลัพท์ที่จะเกิดตามมา

Ref: http://www.aafp.org/afp/2012/1001/p631.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น