ต่อเนื่องจกาก post ก่อนหน้านี้ในเรื่องการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาช่องทางด่วนสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (stroke fast tract)
โดยเป็นสถานบริการที่สามารถให้บริการ 24 ชม. ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. ประสาทแพทย์หรือแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน/อายุรแพทย์ ที่ได้รับประกาศนียบัตรอบรมการให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันในระยะเฉียบพลันโดยได้รับการรับรองจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับชาติ
2. ประสาทศัลยแพทย์
3. มี CT brain
4. สามารถตรวจ Bood sugar, CBC, Electrolyte, BUN, Cr, Coagulogram
5. สามารถหาเลือดและส่วนประกอบของเลือด เช่น FFP, Cryoprecipitate, platelet concentrate และ pack red cell
6. มี ICU หรือ stroke unit (SU)
7. มีการสำรอง rt-PA ไว้ในบริเวณที่รักษา เช่น ER, ICU หรือ SU
แต่ศักยภาพของ รพ. พิมายไม่มีประสาทศัลยแพทย์และความพร้อมในบางส่วนจึงจะเป็นลักษณะของการวินิจฉัย และการให้ให้ยาละลายลิ่มเลือด ก่อนที่จะส่งไปยัง รพศ. ที่เป็นแม่ข่ายของเรา
Ref: แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
http://pni.go.th/cpg/sft-2007.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556
2,238 ศักยภาพของโรงพยาบาลที่สามารถให้บริการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น