วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,262 Medication reconciliation (drug reconciliation)

ช่วงนี้ต้องเตรียมการประชุมเรื่อง medication reconciliation จึงสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเบื้องต้นไว้ครับ

Medication reconciliation คือการประสานรายการยาเป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบคำสั่งการใช้ยาทั้งหมดของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (medication errors) เช่นการไม่ได้รับยา การได้ยาซ้ำ ปฏิกิริยาระหว่างยา อื่นๆ โดยควรจะมีการทำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วย ได้รับยาใหม่ การเขียนคำสั่งใหม่ของยาที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงในการดูแลต่างๆ การเคลื่อนย้ายเปลี่ยนหอผู้ป่วย การย้ายไปห้องผ่าตัด การส่งต่อ ตลอดจนในตอนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน อื่นๆ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนสามารถเกิดได้ทุกจุดของรอยต่อการให้บริการ โดยประมาณ 20% มีสาเหตุมาจากการส่งต่อข้อมูลคลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน พบว่าร้อยละ 42-61 ของผู้ป่วยที่รับการรักษาใน รพ. ไม่ได้รับยาที่เคยใช้อยู่เดิมตั้งแต่ 1 ชนิดหรือมากกว่า
กระบวนการนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การพัฒนาบัญชีรายการยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (2) พัฒนาบัญชีรายการของยาที่สั่งใช้ (3) เปรียบเทียบรายการยา 2 ชนิด (4) การตัดสินใจทางคลินิกโดยใช้การเปรียบเทียบ และ (5) การสื่อสารในรายการใหม่ให้กับผู้ดูแลและผู้ป่วย
โดยจะสามารถลดความคลาดเคลื่อนในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
-การไม่ได้รับยาที่เคยใช้เป็นประจำ
-การไม่ได้หยุดยาบางตัวก่อนเข้าทำหัตถการหรือการผ่าตัด
-การไม่ได้รับยาเดิมภายหลังการสั่งหยุดชั่วคราว
-การได้ยาซ้ำซ้อนเพราะไม่ทราบว่ามีการสั่งหยุดยาแล้ว
-ได้รับยาขนาดเดิมทั้งที่มีการสั่งปรับขนาดยาแล้ว
-ได้ยาซ้ำซ้อนกับยาที่ผู้ป่วยซื้อมารับประทานเองหรือได้มาจากสถานบริการอื่น

ซึ่งนอกเหนือจากการลดความคลาดเคลื่อนในการให้ยาและเกิดความถูกต้องปลอดภัยแก่ผู้ป่วยแล้วยังพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการที่ผู้รับบริการมีการเก็บสะสมยาไว้โดยไม่ได้ใช้ ยาหมดอายุ การใด้ยาเกินความจำเป็นอีกด้วย


Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK2648/
http://www.si.mahidol.ac.th/km/admin/add_information/document/document_files/110_1.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น