วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

2,268 การศึกษาเรื่องการใช้อัลตร้าซาวด์ในภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศจากการบาดเจ็บ

 Clinician-performed Beside Ultrasound for the Diagnosis of Traumatic Pneumothorax
 Western Journal of Emergency Medicine, 14(2)

มีผู้ป่วย 549 คนที่ได้รับบาดเจ็บ คะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของการบาดเจ็บอยู่ที่ระดับ 5 (ช่วงระหว่างควอไทล์ [IQR] คือ 1-14); แพทย์ผู้ทำอัลตร้าซาวด์ 36 คนที่แตกต่างกันได้ทำการอัลตร้าซาวด์ ผลการตรวจที่ได้จะนำมาเปรียบเทียบกับหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งของการตรวจต่างๆ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก, การมีลมในท่อระบายที่ใส่ (chest tube), หรือภาพถ่ายรังสีทรวงในท่านอนอนหงาย
พบว่า 47 คนจาก 549 คนมีภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) อัลตร้าซาวด์ตรวจได้ถูกต้อง 27/47 โดยมีความไว 57% (ช่วงความเชื่อมั่น [CI] 42-72%) มี 3 กรณีที่เป็นผลบวกเท็จ ความจำเพาะ 99% (ช่วงความเชื่อมั่น 98%-100%) การอ่านภาพรังสีทรวงอกมีความไว 40% (ช่วงความเชื่อมั่น 23-59%) และความจำเพาะ 100% (ช่วงความเชื่อมั่น 99-100%)
ดังนั้นในสภาวะที่มีความหลากของแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วยซึ่งได้รับบาดเจ็บ การประเมินด้วยอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศมีความถูกต้องเท่าๆ กับภาพถ่ายรังสีทรวงในท่านอนหงาย (แต่มีความไวมากกว่า) ซึ่งอัลตราซาวด์ทรวงอกอาจจะเป็นประโยชน์ในการประเมินเบื้องต้นของผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บ

Ref: http://www.escholarship.org/uc/item/95z1z0mg#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น