วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

2,739 Aspirin in patients undergoing noncardiac surgery

Original article
N Engl J Med  April 17, 2014

ที่มา: มีความแตกต่างหลากหลายในการให้ยาแอสไพรินในช่วงที่จะผ่าตัดชนิดที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจ (noncardiac surgery) ทั้งในผู้ป่วยที่ได้ยาแอสไพรินอยู่แล้วและในผู้ที่ยังไม่ได้
วิธีการศึกษา: โดยการใช้การออกแบบ 2-by-2 factorial ทำการสุ่มผู้ป่วย 10,010 คนที่เตรียมจะเข้ารับการผ่าตัดชนิดที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจ และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดเพื่อที่จะได้ให้ยาแอสไพรินหรือยาหลอกและ clonidine หรือยาหลอก
โดยผลที่ได้จากศึกษายาแอสไพรินจะนำมากล่าวไว้ในที่นี้ โดยผู้ป่วยได้รับการแบ่งเป็นขั้น ๆ ได้แก่ผู้ป่วยที่ไม่ได้ยาแอสไพรินในช่วงที่เข้าทำการศึกษา (กลุ่มที่เพิ่งจะเริ่มได้ 5,628 คน) หรือกลุ่มที่ได้อยู่แล้ว (กลุ่มที่ได้ต่อเนื่องจำนวน 4,382 คน)
เริ่มต้นให้ผู้ป่วยได้รับยาแอสไพริน (ในขนาด 200 มก. ) หรือยาหลอกก่อนการผ่าตัดและยังคงให้ทุกวัน (ในขนาด 100 มิลลิกรัม) เป็นเวลา 30 วันในกลุ่มที่เพิ่งเริ่มได้และเป็นเวลา 7 วันในกลุ่มที่ได้ต่อเนื่อง,
หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ยาแอสไพรินตามเดิม โดยผลลัพธ์หลักประกอบด้วยการเสียชีวิตหรือการมีกล้ามเนื้อหัวใจตายโดยไม่ได้เสียชีวิตที่ 30 วัน
ผลการศึกษา: ผลลัพธ์หลักเกิดขึ้นใน 351 คนจาก 4,998 คน (7.0%) ในกลุ่มแอสไพรินและ 355 คนจาก 5,012 คน (7.1%) ในกลุ่มยาหลอก (hazard ratio ในกลุ่มแอสไพริน, 0.99; 95% confidence interval [CI], 0.86 to 1.15; P=0.92) การมีเลือดออกที่สำคัญพบได้บ่อยกว่าในกลุ่มแอสไพรินเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก (230 คน [4.6%] เทียบกับผู้ป่วยที่ 188 คน [3.8%]; hazard ratio 1.23 95% CI, 1.01, 1.49, P = 0.04) ผลลัพธ์หลักและรองมีความคล้ายคลึงกันในสองกลุ่มแอสไพริน
สรุป: การให้แอสไพรินก่อนการผ่าตัดและตลอดระยะเวลาหลังการผ่าตัดในช่วงแรกไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญของอัตรากาการเสียชีวิตหรือการมีกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ไม่เสียชีวิตแต่เพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกที่สำคัญ

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1401105

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น