วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

2,731 Spironolactone for heart failure with preserved ejection fraction

Original article
N Engl J Med   April 10, 2014

ที่มา: Mineralocorticoid-receptor antagonists ทำให้การพยากรณ์โรคของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวและมีการลดลงของความสามารถในการบีบเลือดออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricular ejection fraction, EF) ดีขึ้น การศึกษานี้เพื่อประเมินผลของ spironolactone ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวแต่มีความสามารถในการบีบเลือดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายปกติ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ randomized, double-blind ในผู้ป่วย 3,445 คนที่มีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งมี EF ตั้งแต่ 45% ขึ้นไปโดยให้ได้รับ spironolactone (15-45 มิลลิกรัมต่อวัน) หรือยาหลอก ผลลัพธ์หลักได้แก่การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ, ภาวะหัวใจหยุดทำงานหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว
ผลการศึกษา: ในการติดตามเฉลี่ย 3.3 ปี พบว่าผลลัพธ์หลักเกิดเกิดขึ้นใน 320 คนจาก 1,722 คนในกลุ่ม spironolactone (18.6%) และ 351 คนจาก 1,723 คนกลุ่มผู้ทีได้ยาหลอก (20.4%) (hazard ratio, 0.89; 95% confidence interval [CI], 0.77 to 1.04; P=0.14) ในส่วนของผลลัพธ์หลัก เฉพาะการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเท่านั้นที่มีอัตราลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่ม spironolactone มากกว่าในกลุ่มยาหลอก (206 คน [12.0%] ต่อ 245 คน[14.2%];hazard ratio, 0.83; 95% CI, 0.69 to 0.99, P=0.04) ทั้งการเสียชีวิตโดยรวมหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเหตุผลใดก็ตามไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การรักษาด้วย spironolactone มีความสัมพันธ์กับระดับซีรั่มครีเอตินินที่เพิ่มขึ้น เและมีอัตราของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นเป็นสองเท่า (18.7%, ต่อ 9.1% ในกลุ่มที่ได้ยาหลอก) แต่ลดการเกิดโพแตสเซียมในเลือดต่ำ จากการตรวจสอบติดตามบ่อยๆ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง, การมีระดับซีรั่มครีเอตินินตั้งแต่ 3.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (265 ไมโครโมลต่อลิตร) ขึ้นไปหรือการที่ต้องฟอกไต
สรุป: ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวและมีความสามารถในการบีบเลือดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายปกติซึ่งการรักษาด้วย spironolactone ไม่ได้ลดอุบัติการณ์ของผลลัพธ์หลักอย่างมีนัยสำคัญในแง่การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ, หัวใจหยุดทำงานหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1313731

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น