การศึกษาเปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำตาลและภาวะแทรกซ้อนระหว่าง scheduled insulin (basal bolus insulin regimen) กับ sliding scale insulin (SSI) หรือที่เรียกว่า RI scale
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้อินซูลินแบบ basal bolus insulin กับ sliding scale insulin (SSI) เป็นการเปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำตาลและความปลอดภัยในการรักษาระหว่าง ผู้ป่วยที่ได้รับ glargine/glulisine เที่ยบกับ SSI ในผู้ป่วยเบาหวานชนิที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำกว่า 140 มก./ดล. พบว่าผู้ที่ได้ basal bolus regimen สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังอาหารได้ตลอดการนอนโรงพยาบาล ได้ดีกว่าผู้ที่ได้ SSI โดยระดับน้ำตาล เฉลี่ยระหว่างนอนโรงพยาบาล 166+32 และ 193+54มก./ดล. ตามลำดับ) พบว่าร้อยละ 66 ของผู้ป่วยที่ได้ basal bolus insulin และร้อยละ 38 ของผู้ป่วยที่ได้ SSI สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย และพบว่าร้อยละ 14 ของผู้ป่วยในกลุ่ม SSI มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 240 มก./ดล. ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นเมื่อได้เปลี่ยนการรักษาเป็น basal bolus insulin โดยไม่พบความแตกต่างกันของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และเมื่อศึกษาในผู้ป่วยที่ผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไปก็ได้ผลเช่นเดียวกัน และพบว่าการติดเชื้อที่แผลปอดอักเสบและการเกิดไตเสื่อม น้อยกว่าผู้ที่ได้ SSI แต่ไม่พบความแตกต่างกันในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่รุนแรง (น้อยกว่า 40 มก./ดล.) ดังนั้นการศึกษาเหล่านี้ช่วยสนับสนุนว่าในรายที่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน ควรพิจารณาให้ scheduled insulin (basal bolus insulinregimen) มากกว่า SSI ในผู้ป่วยที่ไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรง
Ref: Consensus of inpatients glycemic control พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ พบ.
http://clinical.diabetesjournals.org/content/29/1/3.full#F1
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557
2,721 การศึกษาเปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำตาลและภาวะแทรกซ้อนระหว่าง scheduled insulin กับ RI scale
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น