วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1,178. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ

แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ
โดยสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์

ในด้านผลแทรกซ้อนหลังหกล้มพบว่า ผู้สูงอายุที่หกล้มประมาณร้อยละ 5 - 10 จะมีการบาดเจ็บรุนแรงเช่น ภาวะกระดูกหัก การบาดเจ็บของสมองหรือที่ผิวหนังอย่างรุนแรง โดยที่ร้อยละ 3.5 - 6 ของภาวะหกล้มทำให้มีภาวะกระดูกหัก ในด้านผลระยะยาวสำหรับผู้ที่หกล้มและมีกระดูกข้อสะโพกหัก จะมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 20 - 30 เมื่อติดตามกลุ่มนี้เป็นระยะเวลา 1 ปี และร้อยละ 25 - 75 ที่สูญเสียความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันด้ว ส่วนผลกระทบทางด้านสุขภาพจิต ผู้สูงอายุที่เคยหกล้มจะเกิดความกังวล(anxiety) ภาวะซึมเศร้า ตลอดจนสูญเสียความมั่นใจในการเดิน ผู้ป่วยร้อยละ 30 - 73 จะมีอาการกลัวการหกล้มอีกจนทำให้สูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีประวัติหกล้มมาภายใน 6 เดือนจึงมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี นอกจากนั้นภาวะหกล้มยังเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วย
แม้ว่าจะพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2551 แต่คิดว่าดีมีประโยช์ต่อแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้สูงอายุ จึงนำมาแนะนำให้ครับ 



Link download http://www.agingthai.org/files/users/3451/page/20090217_84231.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น