เป็นการปรับปรุงแนวทางการรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock โดยเป็นความเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
Key point
เป้าหมายของการช่วยให้พ้นภาวะวิกฤต (resuscitation) ใน 6 ชม. แรก
-CVP 8 -12 มม.ปรอท
-Mean arterial pressure (MAP) 65 มม.ปรอท
-ปริมาณปัสสาวะ 0.5 มล/กก/ชม.
การให้ยาปฏิชีวนะ
-ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำภายใน 1 ชม. เมื่อตรวจพบว่าเป็น septic shock และ severe sepsis
การให้สารน้ำ
-เลือก crystalloids เป็นอันดับแรก ในการ resuscitation
-เริ่ม challenge โดยให้ crystalloid อย่างน้อย 30 มล/กก.
ยาที่ช่วยในการหดตัวของหลอดเลือดและยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ (vasopressors and inotropes)
-เลือก norepinephrine เป็นอันดับแรก ร่วมกับการให้ epinephrine หรืออาจจะให้แทนเมื่อความดันโลหิตที่ต่ำยังไม่สามารถแก้ไขได้
-Phenylephrine ไม่แนะนำยกเว้นว่า norepinephrine ที่ให้มีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่รุนแรง, ถ้าปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจสูงและความดันโลหิตต่ำอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นลักษณะแบบกู้กับคืน (salvage therapy) เมื่อ MAP ไม่ได้ตามเป้าหมาย
-พิจารณาให้ dobutamine โดยสามารถให้ได้ที่ขนาด 20 ไมโครกรัม/กก/นาที หรือเพิ่มยาที่ช่วยในการหดตัวของหลอดเลือดในกรณีที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจหรือมีการใหลเวียนโลหิตไปยังเนื้อเยื่อลดลงอย่างต่อเนื่อง
คอร์ติโคสเตอรอยด์
-ไม่ให้คอร์ติโคสเตอรอยด์ในกรณีที่ไม่ได้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำที่ดื้อต่อการรักษา (refractory shock)
การให้ส่วนประกอบของเลือด
-หลังจากการใหลเวียนเลือดไปยังเนื้อเยื่อได้รับการแก้ไข การให้เม็ดเลือดแดง (PRC) จะให้เฉพาะกรณีที่ Hb น้อยกว่า 7.0 กรัม/ดล เพื่อให้ Hb อยู่ในช่วง 7.0-9.0 กรัม/ดล ในผู้ใหญ่
Ref: Crit Care Med. 2013 Feb;41(2):580-637. สรุปโดย Journal watch
http://emergency-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2013/222/1
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น