วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

2,223 การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบอัตราการหายของแผลฝีหนองภายหลังการผ่าระบายโดยเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก (primary closure) และเย็บแผลปิดในภายหลัง (secondary closure)

Primary versus secondary closure of cutaneous abscesses in the emergency department: A randomized controlled trial.
Academic Emergency Medicine
Volume 20, Issue 1, pages 27–32, January 2013

การผ่าและระบายฝีหนอง (incision and drainage, I&D) มักจะเย็บแผลคืนทีหลัง การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบอัตราการหายของแผลฝีหนองภายหลังการผ่าระบายโดยเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก (primary closure) และเย็บแผลปิดในภายหลัง (secondary closure) ผลลัพธ์หลักคือเปอร์เซนต์การหายของแผล (คือการปิดโดยสมบูรณ์ของแผลโดยการดูด้วยตา; และมองหาความแตกต่างในการหายของแผลที่ 40%)
ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วย 56 คนที่เป็นฝีหนองชนิดที่ไม่ซับซ้อนในแผนกฉุกเฉิน ได้รับการสุ่มโดย 29 คนได้รับการเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก และ 27 คนได้รับการเย็บปิดแผลในภายหลัง  อัตราการหายของแผลที่ 7 วันมีความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้ที่ได้รับการเย็บปิดแผลตั้งแต่แรกและเย็บปิดแผลในภายหลัง (69.6% ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI] = 49.1 - 84.4% เทียบกับ 59.3%, 95% CI = 40.7 - 75.5%; ความแตกต่าง10.3%, 95% CI = -15.8 - 34.1%) อัตราความล้มเหลวโดยรวมที่ 7 วัน มีความคล้ายคลึงกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม (30.4%, 95% CI = 15.6% - 50.9% เทียบกับ 28.6%, 95% CI =% 15.2 - 47.1%; ความแตกต่าง 1.8%, 95% CI = - 24.2 - 28.8%)
สรุป อัตราการหายของแผลและอัตราความล้มเหลวของการระบายฝีหนองชนิดที่ไม่ซับซ้อนในแผนกฉุกเฉินไม่มีความแตกต่างกัน  ผู้เขียนไม่พบความแตกต่างในการหายของแผลที่ 40% ระหว่างทั้งสองกลุ่ม

Ref: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/acem.12053/full

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น