วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

2,511 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ยา NSAID ในผู้ป่วยโรคข้อ

1. เริ่มขนาดต่ำที่สุดที่มีผลในการรักษาเมื่อไม่ได้ผลจึงพิจารณาเพิ่มขนาดของยา
2. เลือกใช้ยาเพียงชนิดเดียวในแต่ละครั้ง
3. ใช้ยาด้วยความระมัดระวังในกรณีต่อไปนี้
  -ผู้ปวยโรคตับควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะยาที่มี enter hepatic recirculation (indomethacin) ยาที่เป็น prodrug (sulindac, nabumetone) และยาที่มีรายงานการเกิดตับอักเสบบ่อยหรือรุนแรง (meclofenamate diclofenac phenylbutazone nimesulide และ naproxen) แต่กรณีจำเป็นและภาวะการทำงานของตับบกพร่องไม่รุนแรง อาจใช้ด้วยความระมัดระวังและติดตามผลการทำงานของตับอย่างใก้ลชิด
  -ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs แต่ในกรณีที่การทำงานของไตบกพร่องไม่มากนัก และมีความจำเป็นต้องใช้ยา หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์นาน (long half life) แต่กรณีจำเป็นและภาวะการทำงานของไตบกพร่องไม่รุนแรง อาจใช้ดวยความระมัดระวังและติดตามผลการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด
  -ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากอาจทำใหเกิดความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจล้มเหลวและหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตน ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่มีผลในการรักษา และ
ระยะเวลาสั้นที่สุด โดยติดตามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
  -ผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืด (asthma) ลมพิษ (urticaria) หรือมีอาการแพ้หลังจากได้รับยากลุ่มแอสไพริน
  -ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลหรือเลือดออกในทางเดินอาหารได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี มีประวัติในอดีตเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารหรือเลือดออกทางเดินอาหาร มีโรคร่วมบางอย่างเช่น ตับแข็งโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต หรือใช้ยาบางอย่างร่วมด้วยเช่น สเตียรอยด์ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้ แต่กรณีจำเป็นพิจารณาใช้ยาป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารได้แก่ ยากลุ่ม proton pump inhibitors  หรือยา misoprostol

อ้างอิง: แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น