โรงพยาบาลพิมายสามารถให้บริการส่วนประกอบของเลือดได้หลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหามากโดยเฉพาะช่วงที่ไข้เลือดออกระบาดคือการขาดเกล็ดเลือด ทำให้ต้องส่งต่อ จึงปรึกษากับทางธนาคารเลือดของโรงพยาบาลและทบทวนเรื่องนี้พบว่า
จะเห็นว่าการรับบริจาคเกล็ดเลือดสามารถทำได้ในบางโรงพยาบาลหรือบางศูนย์บริการทางการแพทย์ ไม่เปิดรับบริจาคทั่วไปเหมือนรับบริจาคโลหิต หรือพลาสมา ทั้งนี้เพราะเกล็ดโลหิตเมื่อเจาะออกมานอกร่างกายแล้ว จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง - 5 วัน ตามลักษณะและกรรมวิธีในการเจาะเก็บและต้องเก็บรักษาไว้ในตู้ซึ่งควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 22 องศาเซลเซียสพร้อมกับมีการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลาทั้งในเวลาขนส่งและการเก็บรักษาซึ่งต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือพิเศษในการจัดเก็บ
นอกจากนั้นการบริจาคจะต้องใช้เครื่องมือพิเศษเฉพาะเพื่อปั่นแยกโลหิตอัตโนมัติ (automatic blood cell separation) หรือเรียกว่าการทำ platelet apheresis ส่วนประกอบโลหิตที่ได้คือ single donor platelet (SDP) โดยเครื่องจโรงพยาบาลราชวิ๔ะแยกเม็ดเลือดแดงและพลาสม่ากลับคืนให้ผู้บริจาคโดยอัตโนมัติ
Ref: -blood.redcross.or.th/content/บริจาคเกล็ดโลหิต
-คู่มือบริการงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลราชวิถี
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
2,518 เหตุผลที่การรับบริจาคและการจัดเก็บเกล็ดเลือดทำได้ยากในศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น