Effects of perfusion pressure on tissue perfusion in septic shock.
Crit Care Med. 2000 Aug;28(8):2729-32
วัตถุประสงค์: เพื่อวัดผลของการเพิ่ม mean arterial pressure (MAP) ต่อ เมตาโบลิซมของออกซิเจนและการใหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อเยื่อในภาวะ septic shock
การศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (prospective study) โดยศึกษาในผู้ป่วยไอซียูของอายุรกรรมและศัลยกรรมในโรงพยาบาลที่มีการเรียนการสอนระดับตติยภูมิ โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย septic shock จำนวน 10 คน ซึ่งต้องการยาเพื่อเพิ่มความดันโลหิตเพื่อให้ MAP มีระดับตั้งแต่ 65 ขึ้นไป หลังจากได้รับการให้สารน้ำจน pulmonary artery occlusion pressure (PAOP) มีระดับตั้งแต่ 12 mm Hg ขึ้นไป จากการปรับ norepinephrine จนได้ MAP ที่ 65, 75, และ 85 mm Hg. ในผู้ป่วยทั้ง 10 คนดังกล่าว
ผลการศึกษา: ในแต่ละระดับของ MAP โดยจะทำการตรวจวัดสิ่งบ่งชี้ถึงเปลี่ยนแปลงของการใหลเวียนของเลือด (hemodynamic parameters) ได้แก่ heart rate, PAOP, cardiac index, left ventricular stroke work index, และ systemic vascular resistance index สิ่งบ่งชี้ถึงเปลี่ยนแปลงของเมตาโบลิก (metabolic parameters) ได้แก่ oxygen delivery, oxygen consumption, arterial lactate และสิ่งบ่งชี้ถึงการใหลเวยนเลือด (regional perfusion parameters) ได้แก่ gastric mucosal Pco2, skin capillary blood flow and red blood cell velocity, urine output การเพิ่มขึ้นของ MAP จาก 65 ไปสู่ 85 mm Hg ทำให้มีการเพิ่ม cardiac index จาก 4.7+/-0.5 L/min/m2 ไปสู่ 5.5+/-0.6 L/min/m2 (p น้อยกว่า 0.03), Arterial lactate 3.1+/-0.9 mEq/L ที่ MAP 65 mm Hg และ 3.0+/-0.9 mEq/L ที่ 85 mm Hg (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ)
ความแตกต่างระหว่าง arterial P(CO2) และ gastric intramucosal Pco2 คือ 13+/-3 mm Hg (1.7+/-0.4 kPa) ที่ MAP 65 mm Hg และ 16+/-3 (2.1+/-0.4 kPa) ที่ MAP 85 mm Hg (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ) ปริมาณปัสสาวะที่ 65 mm Hg คือ 49+/-18 mL/hr และ 43+/-13 mL/hr ที่ MAP 85 mm Hg (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ) และในขณะที่ MAP สูงขึ้นพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของ capillary blood flow ของผิวหนัง หรือ red blood cell velocity
สรุป: การเพิ่มขึ้นของ MAP จาก 65 เป็น 85 mm Hg โดยการใช้ norepinephrine พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบเมตาโบลิซมของออกซิเจน, การใหลเวียนโลหิตในหลอดเลือดขนาดเล็ก ปริมาณปัสสาวะ หรือเลือดใหลเวียนผ่านอวัยวะภายใน (splanchnic perfusion)
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10966242
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น