เดิม Diabetes Control and Complications Trial (DCCT) ได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์ลงใน New Engl J Med 1993;329:977-986 โดยได้ทำการศึกษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 1,439 คน ซึ่งใช้การเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 24 ชั่วโมง, 7 ช่วงเวลาของวัน ได้แก่ช่วงก่อนอาหาร 90 นาทีหลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าได้ความสัมพันธ์คือ ระดับน้ำเฉลีย (mg/dL) = ( 35.6 x HbA1c ) - 77.3) โดยมี Pearson correlation coefficient (r) of 0.82
ต่อมามีการศึกษาซึ่งสนับสนุนโดย DA, EASD และ IDF และได้ตีพิมพ์ลงใน Diabetes Care 2008;31:1-6 โดยทำการศึกษาในทั้งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 และผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน จำนวน 507 คน จาก 10 ศูนย์การแพทย์ โดยการใช้ระดับน้ำเฉลียจากการติดตามระดับน้ำตาลต่อเนื่อง 4 ครั้งต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน ร่วมกับการที่ผู้ป่วยเจาะระดับน้ำตาลด้วยตนเอง 7 ครั้งต่อวันอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ พบความสัมพันธ์ดังนี้ = (28.7*HbA1c)-46.7 โดย r2=0.84 ซึ่งเมื่อเราได้ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของผู้ป่วยแล้วก็สามารถนำมาเข้าสูตรและคำนวนออกมาได้หรือจะเทียบกับตารางตามในอ้างอิงก็ได้ครับ
Ref: http://www.ngsp.org/A1ceAG.asp
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
2,517 ที่มาของการคำนวนระดับน้ำตาลเฉลี่ยเพื่อเปลียนเป็นระดับ HbA1c
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น