Acute otitis externa: an update
American Family Physician
December 1 2012 Vol. 86 No. 11
หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis externa) เป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบของช่องหู ซึ่งชนิดเฉียบพลันมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus เป็นเชื้อโรคที่พบมากที่สุด
หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลันมีลักษณะการเกิดอาการอย่างรวดเร็วของการมีช่องหูอักเสบทำให้เกิดอาการปวดหู, คัน, รูหูแดง, และมีน้ำใหลออกจากหูและมักจะเกิดขึ้นภายหลังการว่ายน้ำหรือการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้รับการทำความสะอาดอย่างไม่เหมาะสม การกดเจ็บขณะทำการเคลื่อนไหวของจุดนูนที่เป็นกระดูกอ่อนอยู่หน้าหู (tragus) เป็นสิ่งที่พบได้เสมอ
ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เช่น acetic acid, aminoglycosides, polymyxin B, และ quinolones เป็นการรักษาทางเลือกหลักในกรณีที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งยาเหล่านี้ในสูตรการเตรียมอาจมีหรือไม่มีคอร์ติโคสเตอรอยด์ ซึ่งการเพิ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์อาจช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ดีพอว่ายาต้านจุลชีพหรือสูตรยาปฏิชีวนะใดเหนือกว่าอีกยาหนึ่งในทางคลินิก ทางเลือกของการรักษาขึ้นอยู่กับจำนวนของปัจจัย, รวมทั้งสถานะของเยื่อแก้วหู, ลักษณะของผลกระทบ, การยอมรับการใช้ยา, และค่าใช้จ่าย
สูตรที่ประกอบด้วย neomycin/polymyxin B/hydrocortisone เป็นยาที่มีเหตุผลอันดับแรกที่เหมาะสมเมื่อแก้วหูปกติ ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานจะสงวนไว้สำหรับกรณีที่การติดเชื้อได้แพร่กระจายเกินกว่าช่องหูหรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ส่วนโรคหูชั้นนอกอักเสบเรื้อรัง (chronic otitis externa) มักมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้หรือโรคผิวหนังอักเสบที่มีอยู่เดิมและสามารถให้รักษาโดยการรักษาสาเหตุที่เป็นอยู่
Ref: http://www.aafp.org/online/en/home/publications/journals/afp.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น