การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนอกจากช่วยป้อง รักษา ลดปัจจัยเสี่ยงในโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ยังสามารถช่วยลดการใช้ยาได้อีกด้วยโดย
-การลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.5-23 กก./ม2 สามารถลด SBP 5-20 มม.ปรอท ต่อการลดนน. 10 กก.
-การใช้ DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension diet) ให้รับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหารโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว สามารถลด SBP 8-14 มม.ปรอท
-การจำกัดเกลือในอาหาร โดยลดการรับประทานเกลือโซเดียมให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมล/วัน หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์ต่อวัน สามารถ ลด SBP 2-8 มม.ปรอท
-การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ เช่นการเดินเร็วๆ อย่างน้อย 30 นาที/วันและเกือบทุกวัน สามารถลด SBP 4-9 มม.ปรอท
-การลดการดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 drink/วัน ในผู้ชาย และไม่เกิน 1 drink/วัน ในผู้หญิงและผู้ที่น้ำหนักน้อย (1 drink เทียบเท่ากับ 44 มล. ของสุรา 40%, 355 มล. ของเบียร์ 5% หรือ 148 มล. ของเหล้าองุ่น 12%) สามารถลด SBP 2-4 มม.ปรอท
Ref: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,163 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรักษาความดันโลหิตสูงและความสามารถในการลด systolic BP ของแต่ละวิธีการ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น