วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2,129 ทบทวนพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดหนองในชั้นกล้ามเนื้อ (pyomyositis)

Tropical pyomyositis (myositis tropicans): current perspective
Postgrad Med J 2004;80:267-270

เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กล้ามเนื้อโครงร่างในระหว่างการมีเชื้อในกระแสเลือดชั่วคราว (transient bacteraemia) ซึ่งเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโครงร่างโดยปกติแล้วจะสามารถต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียภายใต้สถานการณ์ปกติ โดยแนวความคิดที่ว่าคือมีการปล่อยธาตุเหล็กออกโดยไมโอโกลบิน (ซึ่งธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย) โดยเมื่อธาตุเหล็กลดลงจะส่งผลให้การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียช้าลง ทำให้ภูมิคุ้มกันโดยเซลและภูมิคุ้มกันที่เกิดจากสารน้ำ (humoral) ในการป้องกันการติดเชื้อสามารถเข้าสู่ตำแหน่งที่ติดเชื้อก่อให้เกิดความสำเร็จในการป้องกันการติดเชื้อ ถ้ามีการทำลายของกล้ามเนื้อจะทำให้มีความสามารถในการติดเชื้อของเชื้อที่มาทางกระแสเลือดและเกิดเป็นฝีขึ้นมา
โดย 20%-50% ของผู้ป่วยจะมีประวัติของการบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก (blunt trauma) หรือการออกกำลังกายอย่างหนักของกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ส่วนสมมติฐานของกลไกอื่นๆ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ซึ่งได้แก่ การขาดสารอาหาร, การติดเชื้อไวรัสและปรสิต มีการตั้งสมมติฐานว่าธาตุเหล็กที่มีมากมายที่พร้อมจะนำมาใช้ภายหลังจากการบาดเจ็บส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมากมาย
ยังมีสิ่งสนับสนุนว่าการมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอาจเป็นสาเหตุพื้นฐานในหลาย ๆ กรณีของผู้ป่วย นักวิจัยบางคนได้พิสูจน์ว่าเซลเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที-เซล (T-cells) จะไม่เพียงพอกับในการต่อต้านเชื้อ staphylococcus ในระหว่างที่มีการติดเชื้อ ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่การมีติดเชื้อไวรัสนำมาก่อน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง arbovirus) หรือการติดเชื้อพยาธิตัวกลมบางชนิด แต่บทบาทในการเกิดโรคยังไม่ชัดเจน
การใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคนี้  ซึ่งก่อให้เกิดความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันของเซลและภูมิคุ้มกันที่เกิดจากสารน้ำ เกิดความบกพร่องในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของนิวโทรฟิล เพิ่มแบคทีเรียมาอาศัยอยู่ที่ที่ผิวหนังและการฉีดสิ่งปนเปื้อนเข้าไปโดยตรง
โดยมีการติดเชื้อมากขึ้นในผู้ป่วยเอชไอวีจากการทำลายกล้ามเนื้อจากตัวโรคเอง การติดเชื้อพยาธิ เชื้อไมโครแบคทีเรียม และการเสียการปกป้องของร่างกายเนื่องจากความผิดปกติในการทำงานของ helper T-cells และ granulocytes ในบางการศึกษาแสดงให้เห็นว่า CD4 ที่น้อยกว่า 150/mm3 มีบทบาทต่อการเกิดโรค และพบว่ามีการเพิ่มของอุบัติการณ์ของการเป็นพาหะของ staphylococcus เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเอชไอวี
โดยในช่วงแรกของการเกิดโรค กล้ามเนื้อจะมีการบวมและมีการแยกจากกันของเส้นใยกล้ามเนื้อ ตามมาด้วยหย่อมของการสลายของกล้ามเนื้อ (myocytolysis) และดำเนินไปจนเกิดการสลายตัวอย่างสมบูรณ์  เส้นใยกล้ามเนื้อจะถูกล้อมรอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและพลาสม่าเซล เส้นใยกล้ามเนื้ออาจหายได้โดยไม่เกิดฝีหรือการเสื่อมสลาย หรืออาจจะดำเนินไปเป็นหนองที่มีแบคทีเรียและเซลเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonuclear อยู่ได้

Ref: http://pmj.bmj.com/content/80/943/267.full

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น