Amenorrhea: An approach to diagnosis and management
American Family Physician
June 1 2013 Vol. 87 No. 11
ถึงแม้ว่าการไม่มีประจำเดือนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่การประเมินอย่างเป็นระบบ ได้แก่รายละเอียดของประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจระดับฮอร์โมน์มักจะสามารถระบุสาเหตุพื้นฐานได้
การไม่มีประจำเดือนตั้งแต่แรก (primary amenorrhea) มีความหมายคือความล้มเหลวในการเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก มักจะเป็นผลมาจากความผิดปกติของโครโมโซมที่นำไปสู่การทำงานที่ไม่เพียงพอของรังไข่ตั้งแต่แรก (เช่น Turner syndrome) หรือความผิดปกติของโครงสร้าง (เช่น Müllerian agenesis)
การไม่มีประจำเดือนในภายหลัง (secondary amenorrhea) มีความหมายคือการหยุดชะงักของประจำเดือนที่ปกติจะมาอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาสามเดือน หรือการหยุดของประจำเดือนที่ปกติจะมาไม่สม่ำเสมอเป็นเวลาหกเดือน
กรณีส่วนใหญ่ของการไม่มีประจำเดือนในภายหลังสามารถเกิดได้จาก polycystic ovary syndrome, hypothalamic amenorrhea, hyperprolactinemia หรือ primary ovarian insufficiency
ภาวะการตั้งครรภ์ควรได้รับการคิดถึงและตรวจค้นในทุกกรณี การตรวจสืบค้นเริ่มต้นของการไม่มีประจำเดือนในสองกรณี รวมถึงการทดสอบการตั้งครรภ์ม ระดับของ luteinizing hormone, follicle-stimulating hormone, prolactin และ thyroid-stimulating hormone
ผู้ป่วยที่มีภาวะรังไข่สามารถทำงานได้เต็มที่ตั้งแต่แรก (primary ovarian insufficiency) จะไม่คาดเดาการทำงานของรังไข่ และไม่ควรสันนิษฐานว่าจะเป็นหมัน ผู้ป่วยที่มีไม่มีประจำเดือนจากปัญหาของไฮโปทาลามัส (hypothalamic amenorrhea) ควรได้รับการประเมินเกี่ยวกับความผิดปกติของการรับประทานอาหาร และมีความเสี่ยงสำหรับการลดลงของความหนาแน่นกระดูกร่วมด้วย
ผู้ป่วยซึ่งเป็น polycystic ovary syndrome มีความเสี่ยงสำหรับการทนต่อน้ำตาลกลูโคส ความผิดปกติของไขมัน และด้านอื่น ๆ ของ metabolic syndrome
ผู้ป่วยที่เป็น Turner syndrome (or variant) ควรจะได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่มีความชำนาญคุ้นเคยกับการตรวจคัดกรองและการรักษาที่เหมาะสม เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วยที่มีประจำเดือนอาจมีความแตกต่างกันมากและยังขึ้นอยู่กับผู้ป่วยและการวินิจฉัยโรคที่เฉพาะเจาะจง
Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0601/p781.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556
2,331 การตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะไม่มีประจำเดือน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น