วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

871. Delirium in hospitalized older patients

ในตึกผู้ป่วยในมักจะพบว่าผู้สูงอายุมีภาวะ Delirium ได้บ่อยๆ จะมีแนวทางในการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาได้อย่างไร

เครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยอย่างง่าย (The Confusion Assessment Method : CAM)
 ใช้เกณฑ์ 4 ข้อดังนี้
1.Acute onset and Fluctuating course
2.Inattention
3.Disorganized thinking
4.Altered lelvel of consciousness
โดยต้องมีอาการสำคัญทั้งข้อ 1 และ 2 บวกกับอาการในข้อ 3 หรือ 4 ก็ได้ ซึ่งแพทย์หรือพยาบาลต้องเข้าไปประเมินอาการทั้งสี่ข้อด้วยตนเองในระหว่างการพูดคุยกับผู้ป่วย ไม่ใช่การไปซักถามให้ผู้ป่วยหรือญาติตอบเป็นข้อๆเหมือนแบบสำรวจทั่วไป นอกจากเครื่องมือนี้ก็ยังมีเครื่องมือวัดความรุนแรงของอาการอีกหลายชนิด แต่อาจไม่สะดวกใช้ในเวชปฏิบัติ ส่วนแบบทดสอบ Thai MMSE ก็เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่จะเน้นการวัดความจำและสมาธิของผู้ป่วยเมื่อเทียบกับคนที่มีอายุและการศึกษาระดับเดียวกัน
การดูแลที่สำคัญคือ การพยายามหาสาเหตุที่ทำให้เกิดและแก้ไข แต่ในระหว่างรอผลการแก้ไข ต้องให้การรักษาประคับประคองไปด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะนี้ คือ การป้องกัน เนื่องจากภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินอย่างหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดทุพพลภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ถ้าผู้ป่วยมีความวุ่นวายมาก ไม่ให้ความร่วมมือกับการรักษาและอาจก่อให้เกิดอันตรายกับตัวผู้ป่วยเองได้ เช่น ปีนเตียง พยายามดึงสายสวนปัสสาวะและสายน้ำเกลือ เป็นต้น อาจจำเป็นต้อง ควบคุมอาการโดยใช้ยาระหว่างรอผลของการแก้ไขสาเหตุ แต่บางครั้งมักคำนึงถึงการให้ยาควบคุมอาการวุ่นวายสับสน มากกว่าที่จะเน้นถึงการตรวจหาสาเหตุและแก้ไข
ยาที่มีการศึกษามากที่สุด ได้แก่ haloperidol ซึ่งเป็นยารักษาโรคจิตเภท ที่มี high potency และมีผลไม่มากต่อประสาทโคลีนเนอร์จิค อาการง่วงและความดันต่ำ โดยใช้ยารับประทานในขนาด 0.5 มิลลิกรัม ยาได้ผลในเวลา 10-30 นาที ดังนั้นการให้ยาครั้งต่อไปในกรณีที่ไม่ได้ผลคือ เว้นระยะห่างประมาณ 20-30 นาที สามารถให้ซ้ำได้ทุก 30 นาทีจนกว่าผู้ป่วยจะสงบและไม่เกิดอาการข้างเคียงอื่น แต่ถ้าไม่ยอมรับประทานยาหรือต้องงดน้ำและอาหาร อาจต้องฉีดยา haloperidol 2.5 มิลลิกรัม ยาอื่นที่มีการศึกษาผลในการใช้รักษาอาการซึม สับสนเฉียบพลันบ้าง แต่น้อยกว่า haloperidolได้แก่ risperidol, olanzapine และ quetiapine

Ref: http://thaifp.com/palliative/symptom/delirium/delirium.html
http://203.157.184.5/researchcenter/download/06012010/15.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น