เนื่องจากผู้ป่วยที่มี renal artery stenosis ความต้านทานใน afferent arteriole จะเพิ่มขึ้น จะมีการชดเชยโดยการที่ angiotensin II ออกฤทธิ์ให้เกิดการหดของ efferent arteriole เพื่อควบคุมสมดุลของใหลเวียนของเลือดในโกลเมอรูลัส ซึ่งจะทำให้ glomerular filtration rate (GFR) เป็นปกติ
แต่การยาในกลุ่ม ACEIs และ ARBs จะทำให้ปริมาณ angiotensin II ลดลงหรือเป็นการยับยั้งการทำงาน จึงเกิดการสูญเสียการหดตัวของ efferent arteriole มีผลทำให้ไตขาดเลือดมาเลี้ยงและทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ รวมถึงกรณีที่มีไตข้างเดียวหรือการที่ไตอีกข้างมีปัญาอยู่เดิมแล้วบังเอิญไตที่เหลืออีกข้างมี renal artery stenosis พอดี จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ โดยการเริ่มยาในผู้ป่วยที่ไม่มี renal artery stenosis ก็จะส่งผลให้เกิดการทำงานของไตหรือ GFR ลดลงได้แต่ไม่มากหนักและเป็นอยู่ชั่วคราว โดย Cr อาจสูงขึ้นได้ถึง 25 - 30% ของค่าเดิมได้ ไม่เกิน 2 เดือน
Ref: http://wiki.answers.com/Q/Why_ACE_inhibitor_contraindicated_in_renal_artery_stenosis
sichon.wu.ac.th/file/pharmacy-20090318-213821-tU3oF.doc
http://drsvenkatesan.wordpress.com/2010/09/01/why-ace-inhibitors-are-contraindicated-in-bilateral-renal-artery-stenosis/
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
1,778 เหตุผลที่ ACEIs และ ARBs เป็นข้อห้ามอย่างสมบูรณ์ (absolute contraindication) ใน bilateral renal artery stenosis
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น