วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

1,792. Genitourinary trauma with Foley catheters

Journal watch
แรงผลักดันเพื่อที่จะลดการใส่สายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่มาจากความต้องการเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในจะมีความคุ้นเคยกับผู้สูงอายุที่กระสับกระส่ายและดึงสายสวนปัสสาวะของตัวเองแล้วก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะตามมา การศึกษาวิจัยทำในที่โรงพยาบาล Minneapolis Veterans Affairs hospital ได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้าของผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั้งหมดที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะในช่วงระยะเวลา 16 เดือนเพื่อดูอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บ
ในระหว่าง 6,500 วันของผู้ป่วยทั้งหมดที่ใส่สายสวนปัสสาวะ พบว่าผู้ป่วย 89 คน ได้รับบาดเจ็บอวัยวะสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะซึ่งพบรวมเป็น 100 กรณี ท่ามกลางเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ พบว่า 11 ราย เกิดจาก false passage, โดยที่ 7 รายพบว่าตำแหน่งสายสวนเข้าไปอยู่ที่ต่อมลูกหมากหรือเยื่อบุช่องท้อง, 7 คนที่มีการบาดเจ็บอวัยวะเพศชายหรือทางเปิดของท่อปัสสาวะถลอก และ 33 รายเกิดมีเลือดออกปนมากับปัสสาวะที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า (gross hematuria)
โดยเปรียบเทียบ 116 ครั้งของจำนวนการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่บันทึกไว้ในผู้ป่วยกลุ่มเดียวกันนี้ แต่พบว่ามีเพียง 21 ครั้งที่ตรงตามเกณฑ์สำหรับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่มีอาการ (ซึ่งตรงข้ามกับการมีแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่มีอาการ หรือ asymptomatic bacteriuria)
ในหัวข้อความเห็นได้กล่าวว่า ในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะ, การบาดเจ็บอวัยวะสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญเช่นการติดเชื้อ และยังมีเหตุผลอื่น ๆ เพื่อการหลีกเลี่ยงการใช้สายสวนปัสสาวะที่เป็นไปได้ เช่น สัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium) และการทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนที่ทั้งๆ ที่อาจจะสามารถลุกเดินหรือลุกทำกิจกรรมต่างๆ ได้แล้ว


Ref: http://general-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/510/8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น