วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

1,776 ข้อคิดในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง (hypertensive crisis)

ในภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง (hypertensive crisis) ซึ่งใน JNC 7 ให้ความหมายว่า SBP มากกว่าหรือเท่ากับ 180 mmHg หรือ DBP  มากกว่าหรือเท่ากับ 110 mmHg (แต่มีหลายอ้างอืงใช้ SBP 180 mmHg และ DBP 120 mmHg)
การแยกระหว่าง hypertensive emergency และ hypertensive urgency มีความจำเป็นเพื่อการพิจารณาให้การรักษา (ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบก็มักเป็น hypertensive urgency มากกว่า hypertensive emergency)  
ซึ่งกรณีที่พบว่ามีความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง แต่ยังไม่มีการสูญเสียการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ (absence of acute target-organ involvement or damage) จึงเข้าได้้กับ hypertensive urgency ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องลดความดันโลหิตอย่างทันทีในเวลา 1-2 ชม. แต่ยังพอมีเวลาในการลดความดันโลหิตในเวลา 24-48 ชั่วโมง (ซึ่งบางอ้างอิงกล่าวว่าใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมงถึงเป็นวัน)
ซึ่งสามารถให้เป็นยาชนิดรับประทานได้ โดยส่วนตัวจึงคิดว่ายาชนิดรับประทานใดๆ ที่สามารถลดความดันโลหิตได้ในระยะเวลาดังกล่าวและใช้แล้วมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ก็น่าจะสามารถใช้ได้ และถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถควบคุม BP ได้ดีหรือไม่ อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น หรือมีภาวะอื่นใดที่ต้อง admit ก็สามารถ admit ให้การรักษาแบบผู้ป่วยในได้ครับ
ส่วน hypertensive emergencies เป็นภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตอย่างรุนแรงร่วมกับ การมีการสูญเสียการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ดังนั้นจำเป็นที่จะ ต้องลดความดันโลหิตที่สูงอย่างทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ โดยทั่วไปจะเป็นการบริหารยาลดความดันโลหิตทางหลอดเลือดเป็นหลัก
ลักษณะของ hypertensive emergencies ได้แก่
- Hypertensive encephalopathy
- Hypertensive left ventricular failure
- Hypertension with myocardial infarction
- Hypertension with unstable angina
- Hypertension and dissection of the aorta
- Severe hypertension associated with subarachnoid
haemorrhage or cerebrovascular accident
- Crisis associated with phaeochromocytoma
- Use of recreational drugs such as amphetamines, LSD, cocaine
or ecstasy
- Hypertension perioperatively
- Severe pre-eclampsia or eclampsia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น