American Academy of Family Physicians
May 1 2011 Vol. 83 No. 9
Rhinosinusitis คือการมีเยื่อบุจมูกและโพรงอากาศรอบๆ จมูกอักเสบ เป็นหนึ่งในสภาวะที่ผู้ป่วยมารับการตรวจรักษามากที่สุด การแยกย่อยได้แก่ ชนิดเฉียบพลัน, กึ่งเฉียบพลัน, กำเริบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยชนิดเฉียบพลันอาจระบุต่อว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วย rhinosinusitis ชนิดเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสจะสัมพันธ์กับโรคไข้หวัด (common cold) การให้รักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ด้วยยาแก้ปวด, ยาลดคัดจมูก และการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นสิ่งที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง (เช่นอาการปวดไม่รุนแรงอุณหภูมิน้อยกว่า 101A ° F [38.3°C]) ยาปฏิชีวนะชนิดสเปกตรัมแคบเช่น amoxicillin หรือ trimethoprim sulfamethoxazole ได้รับการแนะนำในผู้ป่วยที่มีอาการหรืออาการแสดงของ rhinosinusitis เฉียบพลันที่ไม่ดีขึ้นหลังจาก 7 วันหรือมีลักษณะแย่ลง ณ. เวลาใดๆ
มีหลักฐานจำกัดที่สนับสนุนการใช้สเตียรอยด์ผ่านทางจมูก (corticosteroids intranasal) ในผู้ป่วยที่มี rhinosinusitis เฉียบพลัน การถ่ายภาพรังสีจะไม่แนะนำในการประเมิน rhinosinusitis เฉียบพลันชนิดที่ไม่ซับซ้อน การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของโพรงอากาศรอบๆจมูก ไม่ควรใช้สำหรับการประเมินเป็นประจำ (routine evaluation) แม้ว่าอาจจะสามารถใช้ในการหาความผิดปกติของกายวิภาคและประเมินผู้ป่วยที่สงสัยมีภาวะแทรกซ้อนจาก rhinosinusitis ชนิดเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรีย
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยของ rhinosinusitis ชนิดเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ภาวะแทรกซ้อนต่อเบ้าตา, ในกระโหลกศรีษะและต่อกระดูก
ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือเป็นมากขึ้นหลังจากให้การรักษาเต็มที่แล้วและหากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นหลักฐานของการเกิดโรคไซนัส ควรพิจารณาส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหูคอจมูก (otolaryngologist)
อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2011/0501/p1057
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น