วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1,964 การเปรียบเทียบการใช้ vasopressin และ adrenaline ในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นที่แผนกฉุกเฉิน

A randomised, double-blind, multi-centre trial comparing vasopressin and adrenaline in patients with cardiac arrest presenting to or in the Emergency Department.
Resuscitation. 2012 Aug;83(8):953-60. Epub 2012 Feb 18

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบ vasopressin และ adrenaline ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มาในแผนกฉุกเฉิน (Emergency Department, ED)
การออกแบบการศึกษา เป็น randomised, double-blind, multi-centre, parallel-design clinical trial ในผู้ป่วยผู้ใหญ่จาก 4 โรงพยาบาล
วิธีการศึกษา โดยมีผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น (ยืนยันจากการที่ไม่มีชีพจร ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น และมีภาวะหยุดหายใจ) อายุมากกว่า 16 ปี( แต่มี 1 โรงพยาบาลที่อายุมากกว่า 21 ปี) ได้รับการสุ่มให้ adrenaline (1mg) ทางหลอดเลือดดำหรือ vasopressin (40IU) ที่แผนกฉุกเฉิน
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บหรือมีข้อห้ามสำหรับการช่วยฟื้นคืนชีพ (cardiopulmonary resuscitation, CPR) จะได้รับการตัดออก ผู้ป่วยได้รับ adrenaline เพิ่มตามข้อบ่งชี้และตามแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน
ผลลัพธ์หลักคือการมีชีวิตรอดจนสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (นิยามคือการมีชีวิตอยู่จนสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลหรือการมีชีวิตถึง 30 วันหลังจากมีภาวะหัวใจหยุดเต้น)
ผลลัพท์หลัก การศึกษานี้ได้คัดเลือกผู้เข้าร่วม 727 คน (adrenaline 353 คน; vasopressin 374 คน) ลักษณะพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มมีความใกล้เคียงกัน พบว่า 8 คน (2.3%) ที่ได้ adrenaline และ 11 คน (2.9%) ที่ได้ vasopressin มีชีวิตอยู่จนสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม (p = 0.27, RR = 1.72, 95% CI = 0.65-4.51)
หลังจากที่ปรับตัวสำหรับเชื้อชาติ, ประวัติความเจ็บป่วย, ผู้ที่ให้การ CPR ขณะอยู่ในเหตุการณ์ และ adrenaline ที่ได้รับมาก่อน พบว่ามีผู้รอดชีวิตจนมาถึงโรงพยาบาลเป็นผู้ที่ได้รับ vasopressin (22.2%) มากกว่าที่ได้รับ adrenaline (16.7%) (p = 0.05, RR = 1.43, 95% CI = 1.02-2.04 ) และจากการวิเคราะห์กลุ่มย่อยสนับสนุนว่ามีผลลัพท์ดีขึ้นสำหรับ vasopressin ในผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุกเต้นเป็นเวลานาน
สรุป การให้ร่วมกันของ vasopressin และ adrenaline ไม่ได้ทำให้การมีชีวิตอยู่ในระยะยาวดีขึ้น แต่ดูเหมือนจะทำให้การมีชีวิตอยู่จนมาถึงการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ( admission)ในผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุกเต้นเป็นเวลานานดีขึ้น  การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของ vasopressin ร่วมกับการรักษาภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำ (hypothermia) ในผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นเวลานานมีความจำเป็น

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22353644?dopt=Abstract

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น