Original article
N Engl J Med August 23, 2012
ที่มา autoantibodies ต่อ interferon-γ มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อฉวยโอกาสที่แพร่กระจายทั่วร่างกายอย่างรุนแรง แต่ความสำคัญและความชุกของยังไม่เป็นที่ทราบ
วิธีการศึกษา มีการลงทะเบียนผู้ป่วย 203 คน จากประเทศไทยและไต้หวันแบ่งเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 มี 52 คน เป็นผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของการติดเชื้อ nontuberculous mycobacterial ทั้งชนิดที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือเจริญเติบโตอย่างช้า
กลุ่มที่ 2 มี 45 คน เป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น อาจมีหรือไม่มีมีการติดเชื้อ mycobacterial nontuberculous
กลุ่มที่ 3 มี 9 คน เป็นผู้ป่วยวัณโรคแพร่กระจาย
กลุ่ม 4 มี 49 คน เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอด
และกลุ่ม 5 มี 48 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี
ประวัติข้อมูลทางคลินิกได้รับการบันทึกไว้และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ
ผลการศึกษา ผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีจำนวน CD4+ T-lymphocyte คล้ายคลึงกับที่พบในผู้ป่วยกลุ่มที่ 4 และ 5 และพวกเขาไม่ได้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)
จากการล้างเซลที่ได้จากผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 และกลุ่ม 2 พบว่ามีการผลิตไซโตไคน์ยังเหมือนเดิมและยังมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นของไซโตไคน์ ในทางตรงกันข้ามพลาสม่าที่ได้รับจากผู้ป่วยนี้ยังสามารถยับยั้งการทำงานของ interferon-γ ในเซลปกติ
ไตเตอร์ที่สูงของ anti- interferon-γ autoantibodies ถูกตรวจพบ 81% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1, 96% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2, 11% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 3, 2% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 4 และ 2% ของกลุ่มควบคุม (กลุ่ม 5) และ autoantibodies anticytokine อื่น ๆ อีก 40 ชนิดได้รับการตรวจประเมินด้วย
พบว่าผู้ป่วยรายหนึ่งมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ cryptococcal มี autoantibodies ที่เฉพาะต่อ granulocyte-macrophage colony-stimulating factor เท่านั้น ไม่พบว่ามี anticytokine autoantibodies อื่น ๆ หรือความบกพร่องทางพันธุกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ ไม่มี familial clustering (familial clustering หมายถึงกลุ่มของความผิดปกติ ที่พบตั้งแต่สองชนิดใน family นั้น)
สรุป anti–interferon-γ autoantibodies ถูกตรวจพบ 88% ของผู้ใหญ่ในเอเชียซึ่งมีการติดเชื้อฉวยโอกาสหลายอย่างและมีความสัมพันธ์กับ adult-onset immunodeficiency ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับภาวะการติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นมากแล้ว
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1111160
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
1,978 Adult onset immunodeficiency in Thailand and Taiwan
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น