วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1,966 กลุ่มอาการของรากประสาทระดับเอวและกระเบนเหน็บ (cauda equina syndrome)

J Am Acad Orthop Surg
2008 Aug;16(8):471-9

Cauda equina syndrome เป็นภาวะผิดปกติที่พบได้ค่อนข้างน้อย โดยทั่วมักเกี่ยวข้องรอยโรคเป็นแบบกินที่ (space-occupying lesion) ขนาดใหญ่ อยู่ภายในช่องโพรงกระดูกสันหลังส่วน lumbosacral กลุ่มอาการของโรคเป็นลักษณะรูปแบบของอาการปวดหลังที่แตกต่างกัน, มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา (sciatica), มีการสูญเสียการทำงานของการรับความรู้สึกและระบบประสาทสั่งการ และการควบคุมการทำงานของลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ (bowel and bladder dysfunction)
พยาธิสรีรวิทยายังไม่ทราบชัดเจน แต่อาจจะเกี่ยวข้องกับความความเสียหายของรากประสาท (nerve roots) ซึ่งเรียงรวมกันเป็น cauda equina จากการกดทับโดยตรงและความการคั่งบวมของเลือดดำหรือการขาดเลือด
การวินิจฉัยให้ได้ตั้งแต่ในระยะแรกมักจะเป็นสิ่งที่ท้าทายเพราะอาการและอาการแสดงเริ่มแรกมักจะไม่ชัดเจนลักษณะที่พบเป็นประจำเมื่อมีอาการเต็มขั้นคือ การมีปัสสาวะค้างเนื่องจากไม่สามารถได้เอง, อาการชาบริเวณรอบทวารหนัก (saddle anesthesia), ปวดขาทั้งสองข้าง, ชา, และอ่อนแอ ส่วนการลดลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบทวารหนักเป็นลักษณะของโรคที่เป็นมากแล้ว อาการและอาการแสดงเริ่มแรกของการเกิดภาวะนี้ภายหลังการผ่าตัดมักจะตรวจพบได้หลังการผ่าตัด
ดังนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องสงสัยในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่มีอาการปวดหลัง / หรือปวดขาที่ดื้อต่อยาปรรเทาปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่สามารถปัสสาวะได้เอง และเมื่อภาวะนี้ได้รับการวินิจฉัย มีความจำเป็นต้องให้การรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อลดการกดเบียดของช่องโพรงกระดูกสันหลังอย่างรีบด่วน

เพิ่มเติมเกี่ยวกับกายวิภาคของไขสันหลังรวมถึง cauda equina
ไขสันหลังจะค่อยๆ เล็กลงจนถึงประมาณกระดูกสันหลังส่วนเอวท่อนที่ 1 ถึง 2 ในผู้ใหญ่ และที่ส่วนปลายของไขสันหลังนี้จะเรียกว่า conus medullaris และส่วนที่ต่ำลงไปจาก conus medullaris จะประกอบเป็นเส้นประสาทเล็ก ๆ ที่ต่อลงมาเป็นกระจุกเรียกว่า cauda equina (ซึ่งมาจากภาษาลาตินแปลว่าหางม้า) และส่วนที่ต่ำลงไปจากนี้อีกเรียก filum terminalae ซึ่งจะไปรวมกับ dura matter ที่กระดูก sacrum ท่อนที่ 3 กลายเป็น coccygeal ligament แล้วหายไปในเยื่อหุ้มกระดูกของ coccyx
( อ้างอิงจาก http://www.bcnlp.ac.th/Anatomy/page/apichat/nervous/page/central-nerve.html และ http://emedicine.medscape.com/article/1148690-overview )

อ่านต่อ: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18664636

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น