วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

1,200. spirin in pregnancy and dental extraction

หญิง 33 ปีตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ เคยเป็น cerebral infarction รับประทาน aspirin 81 mg. ต่อวัน ถ้ามีความจำเป็นจะถอนฟันจะต้องทำอย่างไรครับ? และจะมีหลักการใช้ aspirin ในผู้ป่วยตั้งครรภ์อย่างไร?

ขอขอบคุณ คุณหมอก้องสำหรับความเห็นครับ
ตอบมาได้ดีและครบถ้วน ครอบคลุมถีงเรื่องการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อยซึ่งก็คงต้องตรวจค้นหาสาเหตุเพิ่มดังความเห็นที่ตอบมา รวมถึงได้ตอบแนวทางการพิจารณาเรื่องการหยุดยา aspirin มาให้ และยังได้กล่าวถึงการให้ aspirin ในกรณีที่พบว่าสาเหตุโรคหลอดเลือดสมองนั้นสามารถให้การรักษาด้วย aspirin ที่ยกตัวอย่างมาให้ในที่นี้คือ antiphospholipid syndrome
งั้นขอเสริมนะครับผม
ผมได้สืบค้นดูพบข้อมูลดังข้างล่างนี้ครับ ลองอ่านและพิจารณาการรักษาดูนะครับ

จาก Surgical Management of The Primary Care Dental Patient of Antiplatelet -Medication ได้ศึกษาในผู้ป่วยที่ใช้ low-dose aspirin (75-300 mg ) ได้สรุปว่า การเกิด stroke และ MI มีความสัมพันธ์กับการหยุดใช้ยา antiplatelet ประมาณ 10 วันก่อนเกิดอาการ และการหยุดใช้ยา aspirin ก่อนการทำการผ่าตัดต่างๆ อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด thromboembolic event ประมาณ 0.005%
   และการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความเสี่ยงในการเกิด bleeding กับการใช้ยา antiplatelet พบว่า ผู้ป่วยอาจมีเวลาในการเกิด bleeding นานกว่าปกติ แต่ไม่มีความสำคัญทางคลินิก และการเกิดเลือดออกหลังจากการทำทันตกรรม สามารถควบคุมได้โดยการใช้ ยาห้ามเลือดเฉพาะที่ ในผู้ป่วยที่ใช้ antiplatelet เพียงตัวเดียว
การศึกษา Aspirin and bleeding in dentistry: an update and recommendation สรุปว่าในทางทันตกรรม การใช้ aspirin ในขนาดต่ำอาจเพิ่มการเกิดเลือดออกได้ แต่มีผลกระทบต่ำทั้งอาการและระยะเวลาการเกิด และเมื่อทำการชั่งระหว่างผลดีกับผลเสียแล้วจึงมีคำแนะนำว่าสามารถ ใช้ยา aspirin ในขนาดต่ำต่อไปได้ในการถอนฟัน ส่วนในรายที่จำเป็นต้องหยุดยาจะหยุดเพียงแค่ 2-3 วันในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

ส่วนเรื่องการใช้ยา aspirin ในหญิงตั้งครรภ์มีข้อมูลดังนี้ครับ
Pregnancy risk factor: จัดอยู่ใน category C/D สำหรับ full dose aspirin ในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์
ใช้ได้ด้วยความระมัดระวังในระหว่างตั้งครรภ์ แต่มีรายงานการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ ได้แก่ ทารกในครรภ์เสียชีวิต, การเจริญเติบโตช้าของทารกในครรภ์, ภาวะพิษจากสารsalicylate, เลือดออกผิดปกติ, ภาวะเลือดเป็นกรดในทารก และการใช้ยา aspirin ในช่วงระยะใกล้คลอดอาจทำให้มีการปิดของท่อ ductus arteriosus เร็วกว่ากำหนดได้(premature closure of ductus arteriosus) ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกยาขนาดต่ำ(81-120 มิลลิกรัมต่อวัน)และควรหยุดยาในช่วงระยะใกล้คลอด
เพราะแอสไพรินมีผลมีผลไปต้านฤทธิ์ของพรอสตาแกลนดินซึ่งพรอสตาแกลนดินจะออกฤทธิ์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อมดลูกในกลไกการคลอด ดังนั้นแอสไพรินอาจทำให้การคลอดล่าช้า และตัวยาแอสไพรินจะทำให้เกิดความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด การได้ยาในระยะ ๒ สัปดาห์ก่อนคลอด จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาการตกเลือดในการคลอด และการแข็งตัวของเลือดในทารกแรกเกิด
แต่ในแนวทางทั่วๆ ไป จะให้ความเห็นเพิ่มว่าต้องเปรียบเทียบประโยชน์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นด้วย ถ้าคิดว่าการหยุดยาแล้วมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะบางอย่างหรือเกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคซึ่งรุนแรง รักษายากกว่าผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องใช้ยาต่อไป โดยต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปด้วยความละเอียดรอบคอบครับ

 
Ref:
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/wbfile/249255010411.doc
http://www.doctor.or.th/node/2752
http://www.heartsiam.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538728376

1 ความคิดเห็น:

  1. เล่นด้วยนะครับพี่ เอาแบบ Ob-Gyn บ้านๆนะครับ ถ้าให้ตอบจริงๆจะส่ง consult Internist ครับผม
    โดยปกติไม่ common ที่ ischemic stroke จะเกิดกับ reproductive age ดังนั้น case นี้ที่ผมคิดว่าควรต้องทำคือ
    1. w/u UD อื่นๆ พวก antiphospholipid syndrome ถ้าพบ ก็manage ตาม risk พิจารณาเรื่อง LMWH, low dose ASA ทั้งช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอด+fetal surveillance สมำเสมอ
    2. ถ้า on ยาอยู่ตอนนี้ทำไง ==>>คง off ไปก่อน restart after complete 1st trimester คือหลัง 14 wk ไปแล้ว (คือถ้าพบ antiphospholipid syn ก็ Mx ตาม risk ไป แต่ถ้าไม่พบจะให้หรือไม่ให้ ASA คิดว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าแบบไหนดีกว่า เพราะ recurrent stroke ในคนท้องก็ rare มาก ดังนั้นถ้าจะให้ ก็คงให้ต่อหลัง 14 wk ไปแล้ว)
    3.ถ้าจะทำฟัน==>>คิดว่าเป็น minor operation ถ้ารีบก็ทำไปเลย ถ้าไม่รีรอ off ASA ไปก่อนสักสัปดาห์ครับ
    พอได้คะแนนมั่งไหมเนี่ย

    ตอบลบ