วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

1,210. การแปลผลสไปโรเมตรีย์

การแปลผลสไปโรเมตรีย์

ปัจจุบันโรงพยายบาลต่างๆ รวมถึง รพช. ก็มีการใช้สไปโรเมตรีย์ในการตรวจการทำงานของปอด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเครื่องสามารถแปลผลให้ได้เลย แต่ถ้าอยากฝึกฝนในการแปลผลก็สามารถศึกษาได้ครับ

โดยเราสามารถแยกความผิดปกติของสไปโรเมตรีย์ออกได้เป็น obstructive defect และ restrictive defect โดยอาศัยค่า FEV1,FVC และ FEV1/FVC%
Obstructive defect
เช่น asthma,COPD จะมี FEV1 ลดลง และ FEV1/FVC% ลดลง ในกรณีที่มีการอุดกั้นมาก ๆ และมีอากาศถูกขังอยู่ในปอดมากขึ้น ค่า FVCจะลดลงได้เช่น asthma,COPD จะมี FEV1 ลดลง และ FEV1/FVC% ลดลง ในกรณีที่มีการอุดกั้นมาก ๆ และมีอากาศถูกขังอยู่ในปอดมากขึ้น ค่า FVCจะลดลงได้
Restrictive defect

เช่น interstitial lung disease, myasthenia gravis, kyphoscoliosis จะมีปริมาตรของปอดลดลง แต่อัตราการไหลของลมหายใจออกจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นแม้ค่า FEV1 และ FVC จะลดลง แต่ FEV1/FVC% จะปกติหรือเพิ่มขึ้น
       เมื่อแปลผลได้แล้ว ก็นำข้อมูลไปประเมินความรุนแรงดังตารางข้างล่างครับ

ขั้นตอนการแปลผล

การจำ แนกความรุนแรงของความผิดปกติ 

จากแนวทางการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์
Guidelines for Pulmonary Function Tests Spirometry

โดย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย


http://km.blogdns.net/km/tiki-download_file.php?fileId=642

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น