วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

1,201. Regular insulin sliding scale (RI sliding scale)

ลองมาทบทวน Regular insulin sliding scale (RI sliding scale) กันนะครับ

เรามักตั้ง Regular insulin sliding scale แต่ลืมให้ basal insulin ซึ่งปกติ ความต้องการ insulin ใน DM จะแบ่งเป็น 3 ส่วน

1. Basal insulin คือเป็น insulin ที่ maintain ในร่างกายตลอดเวลา เพื่อยับยั้ง lipolysis aminolysis เป็นต้น ถือเป็นภาวะ resistance ของแต่ละคนอยู่แล้วที่มีไม่เท่ากัน ถ้าใครใช้ insulin มากกว่า 80 U/day ก็ถือว่า high insulin resistance
2. Nutritional insulin (prandial insulin) คือ insulin ที่ใช้ลดน้ำตาลจากอาหารและรวมถึง IV ที่ให้
3. Corrected dose insulin (supplemental insulin) คือ insulin ที่ใช้เพิ่มเติมจากการที่มี stress

ข้อ1 กับ 2 รวมเรียกกันว่า schedule insulin ซึ่งจำเป็นต้องมีในคนไข้ทุกราย ดังนั้น practical point คือหลังจากทราบ requirement คร่าว ๆ แต่ละคนแล้ว 1-2 วัน ต้องมี schedule insulin ซึ่งการที่เราตั้ง scale ก็เป็นแค่ปรับส่วนที่ 3 นี้เท่านั้น และถ้าไม่แน่ใจว่าจะตั้ง schedule insulin ขนาดเท่าไร อาจจะให้เป็น 0.4 - 1.0 U/kg/day ถ้าอ้วนก็ใช้ 0.6 ถ้าผอมใช้ 0.3 แล้วปรับตาม correct dose อีกครั้ง
ส่วน scale ในข้อ 3 ถ้าในช่วง 24-48 ชม.แรกยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยต้องการ insulin เท่าไร อาจพิจารณาตั้ง scale ดังนี้ก่อนก็ได้ แต่ต้องแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่มตามระดับความไวในการตอบสนองต่ออินซูลิน ดังตารางข้างล่างครับ

-Highly insulin sensitivity: ในคนผอม ผู้สูงอายุ, เริ่มให้ TPN
-Normal insulin sensitivity:ในคนทั่วๆ ไป
-Highly insulin resistant: ในภาวะที่มีการติดเชื้อ ได้รับสเตีอรอยด์
เพิ่มเติม
การหาปริมาณ basal insulin และ prandial insulin ให้คำนวนมาจากปริมาณอินซูลินที่ต้องการต่อวัน โดยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ให้เริ่มต้นที่ 0.5-0.7 ยูนิต/กก./วัน ส่วนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เริ่มต้นที่ 0.4-1.0 ยูนิต/กก./วัน หรือขนาดมากกว่านี้ โดยจะเป็น basal insulin 40-50%, เป็น prandial insulin 10-20% 

Ref:
http://endocrinology.yale.edu/Images/695_21366_Takeda_Yale_KLL_tcm314-50135.PDF
http://74.125.153.132/search?q=cache:KgcBsXCecvcJ:www.medchula.com/question.asp%3Fclass%3D54%26gid%3D267+regular+insulin+scale&cd=31&hl=th&ct=clnk&gl=th
http://pharm.swu.ac.th/News/Making%20Sense%20of%20the%20Science%20and%20Practice/Dr%20Arom.pdf
NHB Bremerton Practical Guidelines for Hospital Use of Insulin
Consensus of inpatients glycemic control พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ พบ.

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7/7/54 09:18

    ดีมากเลยครับ..... พี่

    ถ้า เป็น facebook ขอกด like 100 ครั้ง ๆๆๆ


    น้อง topicort

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  3. แล้วจะทราบได้ยังไงคะว่า Basal Insulin กับ prandial Insulin จะให้เท่าไรดีอ่าค่ะ??

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับสำหรับคำถาม ลองอ่านตามลิ้งค์นี้ก่อน ว่างแล้วจะมาสรุปเพิ่มในกระทู็้ให้อีกครั้ง (ถ้าลิ้งค์ไม่ทำงานรบกวน copy URL ไปวางนะครับ)
    http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=50&cad=rja&ved=0CGYQFjAJOCg&url=http%3A%2F%2Fpubnet.moph.go.th%2Fjournals%2Findex.php%2FMNHMB%2Farticle%2Fdownload%2F1356%2F1284&ei=uYQxUI6sJ8zwrQfjm4CwDQ&usg=AFQjCNE1kyZtNETr57erE4af8UQNBtcGxg&sig2=VPWq1-ADzdRP8EZWrj6BSQ

    ตอบลบ
  5. สรุปและเขียนเพิ่มเติมให้แล้วนะครับ

    ตอบลบ