วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,680 กลไกที่ ACEI และ ARB สามารถลด proteinuria

Angiotensin II จะออกฤทธิ์ที่ efferent arteriole โดยก่อให้เกิดการหดตัว ส่งผลให้ hydrostatic pressureใน glomerulus เพิ่มขึ้นทำให้ fluid ใน glomerulus เพิ่มขึ้น ซึ่ง angiotensin II  ซึ่งเป็นกลไกการชดเชยในกรณีที่สูญเสียเลือดหรือสารน้ำหรือภาวะที่ความดันโลหิตลดลง เพื่อป้องกันการลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงไต แต่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ
ถ้าในระยะยาว hydrostatic pressure ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิด shearing force ต่อ endothelium เกิด fibrosis และ sclerosis ตามมา ส่งผลให้ GFR (การกรอง) ลดลง เกิดการคั่งของของเสียและเกิด uremia ได้  และมีผลให้เกิดการบวมของ glomerular basement membrane การขยายขนาดของ glomerular cell ส่งผลให้เกิดการกรองโปรตีนผิดปกติ ทำให้มีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ
ยากลุ่ม ACEI และ ยากลุ่ม ARB จะยับยั้งการออกฤทธิ์ของ angiotensin II ทำให้ efferent arteriole เกิดการขยายตัว ทำให้ความดันใน glomerulus ลดลง (BP ก็ลดลง) และส่งผลให้ shearing force ลดลง ลดการเกิดสิ่งต่างที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การขับ protein ออก (proteinuria) ลดลง จึงสามารถป้องกันภาวะไตเสื่อม (sclerosis) เนื่องจาก HT และ proteinuria ได้ จึงมีการนำยา 2 กลุ่มนี้มาใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง, diabetes nephropathy และโรค glomerulonephritis อื่นๆ เพื่อช่วยชะลอการเกิด end stage renal failure

Ref: std.kku.ac.th/4930702267/NLME%20KUB.doc
http://www.vetlatranquera.com.ar/pages/wild/small_animal_41.htm
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=1768&gid=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น