-ควรให้ในบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่มีโอกาสเลือดและสารคัดหลั่งผู้ป่วย
-วิธีการ IM 3 ครั้ง ในวันที่ 0 ที่ 1 เดือน และ 6 เดือน
-ตรวจระดับ anti-HBs หลังให้เข็มที่ 3 ประมาณ 1-2 เดือน
-ถ้า anti-HBs มากกว่าหรือเท่ากับ 10 mIU/ml (positive) ถือว่าป้องกันโรคได้ ไม่ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่ม ไม่ต้องฉีดวัคซีนอีก
-ถ้า anti-HBs น้อยกว่า 10 miU/ml (negative) ถือว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้ฉีดใหม่ทั้งหมด(0,1,6)
และเจาะ anti-HBs ใหม่
ถ้า anti-HBs น้อยกว่า 10 miU/ml ให้เจาะ HBsAg
HbsAg ผลบวก = ติดเชื้อ
HBsAg ผลลบ = ไม่ตอบสนองวัคซีน หากสัมผัสโรค (การสัมผัสกับเลือดที่มี HBsAg เป็น
บวกหรือมีโอกาสเป็นบวก) ต้องใช้ immunoglobulin
-การตรวจ anti-HBs ไม่แนะนำตรวจในกรณีที่เคยได้วัคซีนมาก่อนนานแล้ว (ไม่ใช่ใน 1-2 เดือน หลังจากได้ได้ยา 3 เข็มตามแนวทาง) ควรตรวจเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่มี HBsAg เป็นบวก โดยถ้า HBsAg เป็นลบ ควรให้การรักษาแบบหลังสัมผัสโรค
-ประสิทธิภาพเมื่อได้ยาครบ 3 เข็ม
อายุน้อยกว่า 40 ปี ตรวจพบภูมิคุ้มกัน มากกว่า 90 %
อายุ 41-60 ปี ตรวจพบภูมิคุ้มกัน 75-90 %
อายุมากกว่า 60 ปี ตรวจพบภูมิคุ้มกันน้อยกว่า 75 %
-ไม่มีข้อห้ามในหญิงมีครรภ์และผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ห้ามให้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยีสต์ทำขนมปัง
(saccharomyces cerevisiae)
Ref: http://www.immunize.org/catg.d/p2017.pdf
http://www.occmedrayong.com/index.php/download/category/2-handout.html?download=10:immunization-for-hcws
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น