วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,720 ข้อแตกต่างระหว่างการแยกระดับความรุนแรงของภาวะ angina pectoris กับภาวะ heart failure

ข้อแตกต่างระหว่างการแยกระดับความรุนแรงของภาวะ angina pectoris กับภาวะ heart failure (เพราะถ้าดูคร่าวๆ อาจมีความคล้ายคลึงกัน)
การแยกระดับความรุนแรงของภาวะ angina pectoris ใช้ Canadian Cardiovascular Society (CCS) classification ดังนี้
Class I : การกิจวัตรประจำวันไม่ทำให้เจ็บหน้าอก เช่นการเดินหรือขึ้นบันได แต่การออกแรงหรือใช้กำลังมากหนักหรือเร็วและแรงจะทำให้เกิดเจ็บหน้าอก
Class II : มีการจำกัดของกิจวัตรประจำวันเล็กน้อย โดยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เช่น เมื่่อทำกิจวัตรประจำวันอย่างเร็ว  เดินหรือขึ้นบันไดอย่างเร็ว การเดินขึ้นเขา หรือออกกำลังหลังรับประทานอาหาร อากาศหนาวหรือเย็น ความเครียด
Class III : มีการจำกัดของกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมาก การเดิน 1-2 บล็อก (1 บล็อกคือระยะทางประมาณ 50-100 เมตร) หรือการขึ้นบันไดระดับความสูงเพียงหนึ่งชั้นก็เจ็บหน้าอก
Class IV : ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันใดๆ ได้เนื่องจากอาการเจ็บหน้าอก หรืออาจจะเจ็บหน้าอกขณะพัก

การแยกระดับความรุนแรงของภาวะ heart failure จะใช้ The New York Heart Association (NYHA) functional classification ดังนี้
Class I : ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ ไม่มีอาการหอบเหนื่อย
Class II : ผู้ป่วยทำกิจกรรมตามปกติได้ลดลงเล็กน้อย โดยมีอาการเมื่อต้องออกแรงมากๆ
Class III : มีการจำกัดของกิจกรรมมากพอสมควร โดยมีอาการแม้ออกแรงไม่มากนัก
Class IV : มีการจำกัดกิจกรรมอย่างมา กผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยแม้ขณะพัก ผู้ป่วยมักต้องอยู่บนเตียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น