วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,714 Monogenic mitochondrial disorders


Review article
Mechanisms of disease
N Engl J Med     March 22, 2012

เพื่อให้ทำงานเป็นไปได้ตามปกติ เซลล์ของมนุษย์ต้องใช้พลังงานในรูปแบบของ ATP ในเซลล์หลายชนิด ATP ถูกสร้างขึ้นโดยไมโทคอนเดรีย (mitochondria) เป็นหลัก ซึ่งไมโทคอนเดรียยังเป็นหลักในกระบวนการที่สำคํญอื่น ๆของเซลล์ เช่นการปรับตัว การสร้างความร้อน ทำให้เกิดความสมดุลย์ของไอออนในร่างกาย  การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกาย ปฏิกิริยาการเกิดอนุมูลอิสระ และรูปแบบการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death apoptosis) ไมโทคอนเดรียมีดีเอ็นเอของตัวเอง (mtDNA), มี encodes mitochondrial proteins 13 ชนิด, RNAs ribosomal (rRNAs) 2 ชนิดและ RNAs transfer (tRNAs) 22 ชนิด การจำลองแบบ การถอดรหัส การแปลและการซ่อมแซมของ mtDNA จะถูกควบคุมด้วยโปรตีนการเข้ารหัสโดยดีเอ็นเอนิวเคลียร์ (nDNA)
 ความผิดปกติของไมโทคอนเดรียไม่เพียงแต่สามารถพบได้ในความผิดปกติต่างๆ ของไมโทคอนเดรียที่เกิดกับยีนเดี่ยว (monogenic mitochondrial disorders) แต่ยังส้มพันธ์กับพยาธิสภาพของโรคที่พบได้บ่อยอีกหลายชนิด เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน มะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคลมชัก โรคฮันติงตัน และโรคอ้วน นอกจากนี้จะมีการลดลงของการแสดงออกของยีนต่างๆ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของความชราในมนุษย์ตามปกติ ซึ่งยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่าการเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกที่เกิดขึ้นกับความชรามีผลในเชิงบวกหรือเชิงลบเกี่ยวกับความยืนยาวของชีวิต
การเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุในสังคมที่พัฒนาแล้วและความชุกที่เพิ่มขึ้นของบางสภาวะเช่น โรคอัลไซเมอร์และโรคเบาหวาน ซึ่งการศึกษากระบวนการของไมโทคอนเดรียและโรคอาจนำมาสู่ความเข้าใจกระบวนการของความชราของมนุษย์และความสัมพันธ์กับสภาวะต่างๆ ข้างต้น
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Internal and External Structure and ATP Generation
   Structure
   ATP Generation
Monogenic Cell Models of Mitochondrial Dysfunction
  Primary and Secondary Disorders
  Mutations and Phenotype
  Developing a Rational Intervention Strategy
Intervention Strategies
  Mitochondria-Targeted Small Molecules
  Treatment of Mitochondrial Disorders
Future Perspectives
Source Information

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1012478

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น