วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,704 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ให้แอสไพรินกับการป้องกันการเกิด preeclampsia

ในแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 แนะนำให้แอสไพรินในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงปานกลางต่อการเกิด preeclampsia ซึ่งก็อาจจะเกิดความสงสัยว่าการให้แอสไพรินช่วยป้องกันการเกิดด้วยกลไกใด? จึงได้สืบค้นเพิ่มเติมพบขัอมูลดังนี้ครับ
Preeclampsia สามารถทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกลดลงอันเนื่องจากการมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดทำให้เกิดก้อนเลือดในรก โดยเฉพาะในภาวะที่มีความดันโลหิตสูง โดยจะเกิดความเสียหายต่อรกทำให้มีผลต่อการนำสารอาหารและอ็อกซิเจนไปสู่ทารก อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารก อาจคลอดก่อนกำหนด และมีผลต่อไต ตับของมารดา เกิดการชักและมารดาอาจเสียชีวิตได้ โดยมักจะไม่มีอาการจนกระทั่งความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 170 มม.ปรอทหรือความดันโลหิตตัวบนล่างกว่า 110 มม.ปรอท จะมีอาการปวดศรีษะ ปวดใต้ลิ้นปี่ มีความผิดปกติของการมองเห็น
มีการศึกษาหลายชิ้นที่สนับสุนว่าการใช้แอสไพรินและยาต้านเกล็ดเลือดตัวอื่นสามารถป้องกันการเกิด preeclampsia และ ภาวะต่างๆ ดังกล่าว แต่ก็ยังมีการศึกษาที่ยังขัดแย้งกันอยู่บ้าง
ในปี 1980 มีการค้นพบความผิดปกติเมตาโบลิซึมของ arachidonic acid ซึ่งมีบทบาทสำคัญในพยาธิวิทยาของการเกิด preeclampsia ซึ่งสนับสนุนว่าการใช้แอสไพรินในขนาดต่ำช่วยผิดกั้นกลไกนี้และส่งผลให้สามารถป้องกันการเกิด preeclampsia ได้ และพบว่าเซลชั้นสุดท้ายของรก (trophoblast) จะบุกรุกเส้นเลือดแดงของรก เกิดการลดลงของเลือดที่ใหลผ่าน และการเปลี่ยนแปลงนี้สัมพันธ์กับการขาดการสร้าง prostacyclin (ซึงมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด) และมีการสร้าง thromboxane จำนวนมากขึ้น (เป็น prostaglandin ที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด โดยสังเคระห์จากเกล็ดเลือดที่มีการเกาะตัวกัน)  จึงเกิดความไม่สมดุลของกลไกการควบคุมการแข็งตัวของเลือด ซึ่งแอสไพรินจะมาช่วยในจุดนี้ โดยมีการศึกษาพบว่ามีทั้งที่แอสไพรินมีผลและไม่มีผลต่อภาวะเลือดออกมากขึ้นในมารดาที่ใช้ (ส่วนใหญ่บอกว่าไม่มีผล)

Ref:
http://www.scielo.br/scielo.php?pid=s1807-59322005000500010&script=sci_arttext 
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20664402
http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/6662321.stm
http://healthfully.org/aspirin/id11.html
http://www.aspirin-foundation.com/suitability/documents/070531Aspirinforpre-eclampsia-revisedAFwebsitepaper.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น