การศึกษาที่มีอยู่ยังไม่สามารถยืนได้ชัดเจนถึงการมี AF จากต่อมไทรอยด์เป็นพิษจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากน้อยเพียงใด
การตัดสินใจที่จะรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการเกิดลิ่มเลือดในระยะสั้นหรือระยะยาวควรจะทำบนพื้นฐานของแต่ละบุคคล, การคำนึงถึงอายุ, การพิจารณาโรคหัวใจที่เกี่ยวข้อง, และความเสี่ยงของการรักษาดังกล่าวจากการทบทวนอย่างเป็นระบบสองการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะยาวหรือยาต้านเกล็ดเลือดในผู้ป่วยที่มี AF ที่ไม่ได้เกิดจากโรครูมาติกได้ข้อสรุปตรงข้ามกัน
และการทบทวนอื่นๆ แนะนำให้ใช้แอสไพรินมากกว่ายาต้านการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วย AF ที่ไม่ได้เกิดจากโรคของลิ้นหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งที่ 7 ของ American College of Chest Physicians (ACCP) แนะนำให้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือดใน AF ซึ่งควรเลือกบนพื้นฐานของการมีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองโดยไม่คำนึงถึงการมีหรือไม่มีของภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยการมี AFและภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษที่ไม่ได้มีโรคหัวใจเดิม, ความดันโลหิตสูง, หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอิสระสำหรับการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน, ความเสี่ยงของการให้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือดอาจจะมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
ตรงกันข้ามในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นที่ทราบหรือสงสัยว่าจะมีโรคหัวใจหรือในผู้ที่มี AF เรื้อรังควรจะเริ่มต้นการรักษาด้วยการให้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด คำแนะนำของการให้ยา warfarin แบบ loading dose จะคล้ายกับผู้ป่วยไม่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แต่การให้ขนาดยาเพื่อควบคุมอาการ (maintenance dose) ควรจะต่ำกว่าเนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของการกำจัดปัจจัยการแข็งตัวที่ต้องอาศัยวิตามินเค (vitamin K-dependent clotting factors) โดยควรใช้แอสไพรินผู้ที่ไม่ได้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด
Ref: http://www.medscape.com/viewarticle/495668_3
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
2,922 ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาให้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วย AF จากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น