แอสไพรินใช้ในปริมาณต่ำ (75-325 มิลลิกรัมต่อวัน) เพื่อป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและมีการสั่งใช้สำหรับผู้ป่วยเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด แม้จะมีหลักฐานที่ดีจากประโยชน์ของแอสไพริน แต่การใช้เป็นเวลานานมีความสัมพันธ์กับความเสียหายต่อเยื่อบุระบบทางเดินอาหารทั้งในทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่าง ความเสี่ยงของผู้ป่วยต่อการมีเลือดและการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจะเพิ่มขึ้นตามอายุ, การมีประวัติเคยเป็นแผลมาก่อน, การติดเชื้อ Helicobacter pylori, และการใช้ยาต้านการอักเสบ (NSAID), คอร์ติโคสเตอรอยด์, หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (antithrombotic) การหยุดการรักษาด้วยยาแอสไพรินสามารถกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจ, ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงมีความจำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกันในระบบทางเดินอาหาร (gastroprotective) ร่วมด้วย เช่นยายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs) เพื่อลดผลข้างเคียงในทางเดินอาหารจากการใช้ยาแอสไพริน การใช้ยาแอสไพรินและยาเพื่อป้องกันในระบบทางเดินอาหารได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มการยอมรับในการใช้ยา, ปรับปรุงผลการรักษา, และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของการรักษา
การใช้ยา PPI เป็นเวลานานอาจนำไปสู่ผลกระทบที่ร้ายแรงหรือในบางกรณีลดผลในการปกป้องโรคหัวใจจากการแอสไพริน ดังนั้นแพทย์ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดของผลการรักษาทางคลินิกจากการใช้ยาร่วมกัน
มีการเพิ่มขึ้นของหลักฐานทางคลินิกที่แสดงให้เห็นว่ายาแอสไพรินอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งทางเดินอาหารอื่นๆ เช่นเดียวกับการลดการดำเนินของ Barrett's esophagus (BE) ไปสู่มะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma นอกจากนี้ PPIs เพิ่งมีการแสดงให้เห็นว่าลดการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอกในผู้ป่วย BE ดังนั้นการใช้ยาแอสไพริน / PPI ร่วมกัน อาจจะให้ประโยชน์เป็นในลักษณะของการใช้สารเคมีในการป้องกัน (chemopreventive) ในผู้ป่วย BE และในเวลาเดียวกัน ก็ให้การรักษาโรคกรดไหลย้อนที่มีเดิม
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24393755
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557
2,903 Aspirin and proton pump inhibitor combination therapy for prevention of cardiovascular disease and Barrett's esophagus
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น