จาก Journal watch, medicine that matters
วัคซีน human papillomavirus (HPV) ได้รับอนุญาตเพื่อใช้ในการป้องกันแบบปฐมภูมิ แต่ยังมิได้มีบทบาทในการป้องกันผลที่ตามมาในผู้ที่มีการติดเชื้ออยู่แล้ว
ในผู้ป่วยที่มิได้มีการติดเชื้อเอชไอวีที่ระบุว่าตนเองเป็นชายรักชายและผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณทวารหนักในเมืองนิวยอร์กได้รับการเสนอให้เริ่มฉีดวัคซีน HPV ในปี 2006 (ซึ่งเดิมไม่เคยมีข้อบ่งชี้ของวัคซีนมาก่อน) ซึ่งในกลุ่มที่ได้วัคซีนมี 88 คน โดยเคยมีผลตรวจชิ้นเนื้อยืนยันและได้รับการรักษาผ่าตัดเพื่อรักษา high-grade anal intraepithelial neoplasia (HGAIN) มาแล้ว เทียบกับผู้ป่วย114 คนที่เป็น HGAIN ซึ่งไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสน้อยที่จะเกิดการกลับเป็นซ้ำของ HGAIN (การเกิดซ้ำ10.2 คน เทียบกับ 15.7 คน/100 คน/ปี) โดยในส่วนย่อยของผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่ามี oncogenic ของ HPV genotypes, การฉีดวัคซีนยังสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำ (15.4 คน เทียบกับ 28.3 คน/100 คน/ปี)
กลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนมีอายุน้อยกว่าและมีแนวโน้มที่จะมี โรคหูดหงอนไก่ที่ทวารหนักและอวัยวะเพศ (anogenital condyloma) มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน แต่ลักษณะทางประชากรอย่างอื่นคล้ายกัน และอัตราของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลังจากที่เข้าร่วมการศึกษา (เป็นการวัดเพื่อเป็นตัวแทนของโอกาสในการที่จะสัมผัส HPV ซ้ำ) มีความคล้ายคลึงเช่นกัน
สรุป: วัคซีนช่วยลดการเกิดซ้ำของ HGAIN อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มชายรักชาย และอาจเป็นการรักษาที่ให้ร่วมภายหลังที่เคยได้รับการรักษามาแล้ว ซึ่งการศึกษาแบบ randomized controlled trial เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยืนยันผลเหล่านี้
อ้างอิงและอ่านต่อ http://general-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/410/3
http://cid.oxfordjournals.org/content/54/7/891.abstract
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555
1,746 HPV vaccination for treating anal neoplasia?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น