ชาย 42 ปี เจ็บแน่นหน้าอก ทำ Test ดังนี้ เป็น test อะไร พบอะไร รักษาอย่างไร
Exercise tress test หรือบางทีเรียกว่า treadmill test (ทดสอบบนสายพานวิ่ง) ย่อว่า EST ถ้าวิ่งไม่ไหวอาจให้ปั่นจักรยานอยู่กับที่
ข้อบ่งชี้
- เพื่อตรวจหาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดใหญ่หัวใจ - เพื่อหาอาการเกี่ยวกับหัวใจที่ทำให้เกิดเจ็บหน้าอก หายใจตื้นๆ หรือวิงเวียน - เพื่อแนะนำระดับการออกกำลังที่ปลอดภัย - เพื่อตรวจหาวิธีที่ได้ผลในการทำให้เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจดีขึ้นสำหรับคนป่วยโรคหัวใจ - เพื่อทำนายระดับความเสี่ยงจากภาวะโรคหัวใจต่างๆ เช่นหัวใจวายเฉียบพลัน
ผู้ป่วยรายนี้เกิด ventricular tachycardia (VT) ขณะทำ EST
การรักษาถ้า VT ที่เกิดขึ้นเป็นชั่วคราว Hemodynamic stable หลังหยุดทำก็คงไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้ายังมีก็ให้การรักษาแบบ VT, ส่วนการรักษาหรือป้องกันการเกิด VT ให้มาดูที่สาเหตุ
อาจารย์ Cardioได้ทำ Echo พบมีแค่ Mild Right ventricular enlargement อื่น ๆ ปกติ จึงสงสัย Right ventricular outflow tract (RVOT) VT
สาเหตุของ VT ใน structurally normal heart
-Right ventricular outflow tract (RVOT) VT
-Left ventricular outflow tract (LVOT) VT
-Idiopathic left ventricular tachycardia (ILVT)
-Catecholaminergic polymorphic VT (CPVT)
-Ventricular tachycardia in Brugada syndrome
-Ventricular tachycardia in Long QT syndrome
โดย 3 ข้อแรกจะเป็น monomorphic VT ขณะที่ 3 ข้อหลังจะเป็น polymorphic VT
สนใจอ่านเพิ่ม
http://74.125.153.132/search?q=cache:7Aau5je5ucQJ:cardiophile.org/2008/11/ventricular-tachycardia-in-structurally-normal-heart.html+exercise+stress+test+indue+ventricular+tachycardia+cause&cd=21&hl=th&ct=clnk&gl=th
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552
54. Exercise stress test with ventricular tachycardia
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เดาแบบมีหลักการนะพี่ชาญศักดิ์ exercise test แล้วมี VT ให้ cordarone or DC conversion
ตอบลบแวะมาทักครับ ผม ปัณณวิชญ์ (PM&R) ที่ขึ้นพูดบนเวที HA ก่อนหน้าชาญศักดิ์ครับ ชื่นชมผลงานและความตั้งใจจริง ผมเอาไปอวดที่ รพ.ราชวิถี แถมการอวดนิดๆว่า นี่บล็อกของศิษย์เก่าราชวิถีนะ ให้ถือเป็น best practice ในการจัดการความรู้
ตอบลบผมแวะมาทักเพราะมีประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งคือ เรื่องการเขียนป้ายกำกับ ยกตัวอย่างเช่นบทความนี้ ป้ายกำกับควรลงแยกเป็น 3 ป้ายครับ ได้แก่ Exercise stress test, Ventricular tachycardia, EST ลิงค์ที่เกิดขึ้นจะแยกเป็น 3 ลิงค์ ประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้ก็คือ การจัดกลุ่มของบทความ เช่น ถ้าเราคลิกลิงค์ไปที่ป้าย Exercise stress test หรือลิงค์ EST ระบบบล็อกของ blogspot ก็จะแสดงลการค้นหาบทความที่มีป้ายกำกับชื่อเดียวกัน ทำให้การเชื่อมโยงไปหาความรู้เก่าๆ ที่เป็นแนวๆ เดียวกันเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย
ตอนที่ผมเข้าไปดูบทความที่บอกลิงค์ดาวโหลด CPG เบาหวาน ดีใจมากที่เจอคนตามหาและรวบรวม CPG ในประเทศให้ พอไปที่ป้ายกำกับเพื่อให้พาไปเชื่อมกับ CPG อื่นๆ ก่อนหน้านี้ ปรากฏว่า ป้ายกำกับใช้ชื่อเดียวกับชื่อเรื่องบทความ ถ้าอย่างนี้ลิงค์ป้ายกำกับไม่มีความหมายอะไร เพราะคลิกไปก็เจอบทความเดิมเท่านั้น ผมต้องมองหาลิงค์ข้างๆ ที่ต้องจัดทำขึ้นเฉพาะในเรื่อง CPG จึงจะเข้าถึงได้
เท่ากับว่า บทความที่ผ่านมาขาดความเชื่อมโยงจัดกลุ่มอย่างน่าเสียดาย เพราะเห็นบทความทั้งหมดปาเข้าไปตั้งเกือบ 3 แสนแล้ว ถ้าจัดทำป้ายกำกับให้มีความหมายของกลุ่มการค้นหาดีๆ เราจะเชื่อมโยงความรู้ได้อีกมาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่สายสำหรับ กลุ่มป้ายกำกับสำคัญๆ ที่เราอยากสร้างให้ แต่ต้องลงแรงหน่อยครับ คือเข้าไปค้นหากลุ่มบทความประเภทเดียวกัน เช่นค้นหา CPG (ถ้าแน่ใจว่าบทความเกี่ยวกับแนวทางปฎิบัติทางการแพทย์ที่เคยบันทึกไ้ว้เขียนคำว่า CPG ไว้เกือบทุกครั้ง) แล้วแก้ไขบทความ โดยโปรยป้ายกำกับตามที่ต้องการให้ใหม่กับทุกบทความนั้น เลือกเอาที่สำคัญๆ ซึ่งน่าจัดกลุ่มลิงค์ก่อนก็ได้ครับ เพราะงานเยอะเอาการ
ผมเป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาการจัดการความรู้ของ รพ.ราชวิถี ทำเว็บบล็อกจาก open source ของ gotoknow.org สนใจลองเข้าชมที่ http://raja.thaikm4u.com
ขอบคุณมากครับ อ.ผมมีความรู้เรื่องเว็บไซต์และป้ายกำกับค่อนข้างน้อย ลองทำมาได้ประมาณปีครึ่ง ผมจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงเว็บไซต์และจะไปเยี่ยมชมเว็บ http://raja.thaikm4u.com ครับ
ตอบลบ