วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

2,918 Thyroiditis: An integrated approach

American Family Physician
September 15 2014 Vol. 90 Number 6

ไทรอยด์อักเสบ (thyroiditis) เป็นคำทั่วไปที่ครอบคลุมความผิดปกติทางคลินิกหลายๆ อย่างที่เป็นความผิดปกติของการอักเสบของต่อมไทรอยด์ ที่พบมากที่สุดคือ Hashimoto thyroiditis; ผู้ป่วยมักจะมาด้วยคอโต, ไม่เจ็บ, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, และมีการเพิ่มขึ้นของ hyroid peroxidase antibody การให้การรักษาด้วย levothyroxine ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยดีขึ้นและอาจลดขนาดของก้อนไทรอยด์ ไทรอยด์อักเสบหลังการคลอดบุตรอาจจะเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร มักเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีของการคลอดบุตร, การคลอดก่อนกำหนด, หรือทำแท้งด้วยยา จะเกิดมีการปล่อยไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดอาจส่งผลให้ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งอาจจะตามมาด้วยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยชั่วคราวหรือถาวรอันเป็นผลมาจากการลดลงของไทรอยด์ฮอร์โมนที่เก็บสะสมไว้และการทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์ที่ผลิดฮอร์โมน ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงานของต่อมไทรอยด์
ยา beta blockers สามารถรักษาอาการในระยะเริ่มต้นของภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ; ในช่วงต่อมาที่มีการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, levothyroxine ควรพิจารณาในผู้หญิงที่มีระดับ TSH ในเลือดมากกว่า 10 mIU/L หรือในผู้หญิงที่มีระดับ TSH 4-10 mIU/L ที่มีอาการหรือต้องการมีบุตร
ต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลัน (subacute thyroiditis) เป็นภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษที่เกิดขึ้นชั่วคราวโดยมีลักษณะของอาการปวดคอทางด้านหน้า, มีการกดการหลั่ง TSH และมีการจับกับไอโอดีนกัมมันตรังสี (radioactive iodine) ต่ำจากการตรวจไทรอยด์สแกน ในหลายกรณีของต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลันจะเกิดขึ้นตามหลังการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการอักเสบทำลายไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) ในกรณีส่วนใหญ่ต่อมไทรอยด์จะกลับมาผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนได้ตามปกติในหลายเดือนต่อมา การรักษาด้วยแอสไพรินขนาดสูงหรือยา NSAID จะเป็นการบรรเทาอาการปวดต่อมไทรอยด์

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0915/p389.html

1 ความคิดเห็น: