วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

512. ชาย 70 ปี เป็น gout แต่แพ้ยา allopurinol

ชาย 70 ปี เป็น gout แต่แพ้ยา allopurinol โดยเป็นผื่นทั้งตัว ผล Lab เป็นดังนี้ ตอนนี้ไม่มีข้ออักเสบ รับประทาน colchicine (0.6) 1 x 1 คิดว่าจะต้องให้ยาใดเพิ่มเพื่อให้การรักษาผู้ป่วย

ขอขอบคุณทุกความเห็นครับ: ตอบมาได้ละเอียดดี งั้นขอเพิ่มเติมนะครับ

ควรพิจารณาให้ยาลดกรดยูริก เมื่อ
1. มีข้ออักเสบกำเริบมากกว่า 3 ครั้ง/ปี โดยที่ผู้ป่วยได้รับยา colchicin รับประทานเพื่อป้องกันการเป็นกลับซ้ำแล้วทุกวัน
2. มีปุ่มโทฟัส
3. มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
4. ระดับกรดยูริกในเลือดเท่ากับหรือมากกว่า 9.0 มก/ดล
5. มีการขับกรดยูริกออกทางไตเท่ากับหรือมากกว่า 800 มก/วัน
แนวทางการใช้ยาเร่งการขับกรดยูริก (Uricosuric agents)
1. อายุน้อยกว่า 60 ปี
2. หน้าที่การทํางานของไตปกติ (การใช้ยา probenecid ควรมีค่า CCr มากกว่า 80 cc/min การใช้ยา benzpromarone ควรมีค่า CCr มากกว่า 30 cc/min)
3. มีการขับกรดยูริกออกทางไตน้อยกว่า 800 มก./วัน
4. ไม่มีประวัติหรือตรวจพบนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
แนวทางการใช้ยายับยั้งการสร้างกรดยูริก (Xanthine oxidase inhibitor หรือ allopurinol)
1. มีปุ่มโทฟัส
2. มีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะมากกว่า 800 มก./วัน
3. มีประวัติหรือตรวจพบนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
4. ใช้ยาเร่งการขับกรดยูริกออกทางไตไม่ได้ผล
ขนาดของยาลดกรดยูริก
1. Probenecid ขนาด 1000-2000 มก./วัน แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง
2. Benzbromarone ขนาด 25-100 มก./วัน ให้วันละครั้ง
3. Allopurinol ขนาด 100-300 มก./วัน ให้วันละครั้ง
ข้อควรระวังระหว่างการใช้ยา
1. การให้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ควรระวังในผู้ป่วยสูงอายุ (มากกว่า 60 ปี) มีประวัติหรือมีแผลในกระเพาะอาหาร มีการทำงานของไตบกพร่อง (ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช้สเตีย-รอยด์ชนิดฉีดจะมีผลต่อการทำงานของไตมากกว่ายาต้านอักเสบชนิดไม่ใชสเตียรอยด์ที่ให้ด้วยการรับประทาน)
2. หลีกเลี่ยงการใช้ยา probenecid และ benzpromarone กับยา penicillin, ampicillin, dapsone, acetazolamide
3. การใช้ยา 6-mercaptopurine และ azathioprine ร่วมกับยา allopurinol ให้ลดขนาดยา
6-mercaptopurine และ azathioprine ลงครึ่งหนึ่ง

http://www.mnrh.in.th/site_data/mykku_hos/message/1253576076-hyperuricemia-gout.doc

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12/5/53 19:07

    1.Desensitization to allopurinol กรณี mild allergy
    2. Uricosuric agents eg. probenecid, benzbromarone

    ตอบลบ
  2. เภสัชนางฟ้า13/5/53 16:34

    หากผู้ป่วยแพ้ยา allopurinol สามารจ่ายยา Probenecid หรือ Sulfinpyrazone ที่เป็นยาในกลุ่ม Uricosuric agent โดยมีกลไกคือการเร่งการขับ uric acid ออก โดย
    Probenecid เป็นยาที่สามารถดูดซึมได้ดีที่ทางเดินอาหาร ขนาดยาที่ใช้คือ 250 mg once daily ในช่วงสัปดาห์แรก จากนั้นจึงปรับขนาดยาเป็น 500 mg วันละ 2 ครั้ง
    Sulfinpyrazone ( Anturane) ซึ่งการให้ยาก็จำเป็นจะต้องมีการให้แบบค่อยๆเพิ่มขนาดยาขึ้นคล้ายๆกับการให้ยา Probenecid
    เนื่องจากยากลุ่มนี้ที่เร่งการขับออกของ Uric acid นั้นอาจก่อให้เกิด การสะสมเป็น urate stone ในไตได้ ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตามมากๆ โดยควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร2 หรือการทำให้ปัสสาวะมี pH > 6 ซึ่งจะสามารถเพิ่มการละลายของ Uric acid ได้โดยการใช้ sodium bicarbonate ( 1 g วันละ 3-4 ครั้ง )โดยที่ยาในกลุ่ม Uricosuric agent นี้ไม่ควรใช้ในการรักษาภาวะ hyperuricemia ที่เกิดจากการได้รับยา chemotherapy เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของ uric acid nephropathy1
    ข้อห้ามใช้ของยาในกลุ่ม Uricosuric agent ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีค่า Clcr < 30 mL/min คือมีการขับของ Uic acid มากกว่า 1000 mg/day2มีรายงานว่าการใช้ยา Oxipurinol ซึ่งเป็นmetabolite ของตัวยา allopurinol ในการรักษาผู้ป่วยที่แพ้ยา allopurinol แล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้เกิดขึ้นคือ มีผื่นตามร่างกายจากรายงานกล่าวว่าเนื่องจากผู้ป่วยที่เคยได้รับยา allopurinol และ oxipurinol ซึ่งจัดเป็น metabolite ของallopurinol ดังนั้นการเกิดจึงเกิดผ่านกลไกระบบภูมิคุ้มกันทำให้ผู้ป่วยแพ้ยาข้ามกลุ่มได้

    ตอบลบ