วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,375. Frozen shoulder (adhesive capsulitis)

ในเวชปฏิบัติพบผู้ป่วยที่มาด้วยข้อใหล่ยึดติดได้บ่อย ๆ จึงทบทวนความรู้พบดังนี้ครับ

มักเรียกว่า "frozen shoulder" หรือ adhesive capsulitis จะมีลักษณะอาการปวดและลดการเคลื่อนไหวของใหล่ ซึ่งมักไม่มีโรคภายในใหล่เองโดยตรง แต่มักเกิดตามหลังการอักเสบของถุงน้ำที่อยู่รอบข้อ หรือการอักเสบเอ็นของใหล่ หรือสัมพันธ์กับความผิดปกติของ systemic disorders เช่น โรคปอดเรื้อรัง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และเบาหวาน การไม่เคลื่อนไหวของใหล่เป็นเวลานานก็ทำให้เกิดได้ พยาธิสภาพจะเกิดการหนาตัวของเยื่อหุ้ม(capsule) ข้อ และมีการอักเสบเล็กน้อยเรื้อรังแทรกซึมรวมทั้งการเกิดผังผืด
โรคนี้พบบ่อยในหญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี อาการปวดและการยึดติดมักค่อยๆ เกิดขึ้น แต่อาจจะดำเนินโรคเร็วในผู้ป่วยบางคนมักมีอาการปวดตอนกลางคืนและรบกวนการนอน จะมีการกดเจ็บ มีการลดการเคลื่อนไหวใหล่ทั้งในแบบที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวเอง(active movement) และการช่วยจับให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหว (passive movement) ภาพถ่ายทางรังสีจะแสดงการบางลงของกระดูก มักจะสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยการตรวจร่างกายแต่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้โดยการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของข้อต่อถ้ามีความจำเป็น โดยการใช้สารทึบรังสี ประมาณ 15 ซีซีฉีดเข้าไปในข้อใหล่
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นได้เองในเวลา 1–3 ปีหลังเกิดอาการ อาการปวดมักดีขึ้น และการเคลื่อนไหวใหล่จะดีขึ้น
การให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวตั้งแต่ช่วงระยะแรกภายหลังการได้รับบาดเจ็บใหล่จะเพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ การทำกายภาพบำบัดถือเป็นการรักษาหลัก การฉีดกลูโคคอติคอยด์และ NSAIDs จะช่วยลดอาการ การค่อยๆ ใช้แรงฉีดสารทึบรังสีเข้าข้อจะช่วยให้การเกาะติดลดลงและช่วยยืดเยื่อหุ้มข้อ ช่วยให้การเคลื่อนไหวใหล่ดีขึ้น และการช่วยให้ใหล่เคลื่อนไหวภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกจะช่วยได้ในผู้ป่วยบางราย



Ref: Harrison 's principles of internal medicine, 18e

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น