วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,387. Nonselective beta-blockers in cirrhosis with varices

พบผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งได้บ่อย ผู้ป่วยอาจจะมีหรือยังไม่มีหลอดเลือดขด-โป่งพองในทางเดินอาหาร รู้สึกสงสัยเรื่องการในการให้ยา nonselective beta-blockers เพื่อเป็นการป้องกันจึงได้สืบค้นข้อมูลพบดังนี้ครับ...

-ในผู้ป่วยที่ไม่มีหลอดเลือดขด-โป่งพองไม่แนะนำให้ยาเพราะไม่ช่วยป้องกันการเกิดหลอดเลือดที่ขด-โป่งพองและอาจมีผลข้างเคียงจากการให้ยาได้
-ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ คือไม่มีรอยนูนแดง(non red wale marks) และไม่มีภาวะโรคตับรุนแรง อาจพิจารณาโดยการเลือกให้เนื่องจากข้อมูลว่าจะช่วยลดการโตของหลอดเลือดและป้องกันการเกิดเลือดออกยังจำกัด แต่อาจตรวจค้นหาภาวะหลอดเลือดขด-โป่งพองเป็นช่วงๆ
-ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดขด-โป่งพองขนาดเล็กแต่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีเลือดออก คือมีรอยนูนแดง(red wale marks) หรือในผู้ป่วย Child class B หรือ C แนะนำว่าควรให้ยา
-ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดขด-โป่งพองขนาดปานกลางหรือใหญ่ ทั้ง nonselective beta-blockers หรือ endoscopic variceal ligation สามารถใช้ได้ ซึ่งการศึกษา meta-analysis ที่มีคุณภาพสูงพบว่าประสิทธิภาพและการรอดชีวิตไม่แตกต่างกัน
-ข้อดีของยาคือราคาไม่แพง ใช้ไม่ยากไม่ต้องอาศัยการมีประสบการณ์หรือความชำนาญ สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น เลือดออกจากการมี portal hypertensive gastropathy, ลดการเกิด ascitesและ spontaneous bacterial peritonitis เนื่องจากการลด portal pressure ส่วนข้อเสียคือมีข้อห้ามแบบrelatively และผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลียรู้สึกเหนื่อย ซึ่งผู้ป่วยต้องหยุดการใช้ยาประมาณ 15-20% โดยบางสถาบันอาจใช้ endoscopic variceal ligation เป็นส่วนใหญ่ บางสถาบันเลือกใช้ยาในช่วงแรก แต่ถ้าผู้ป่วยมีข้อห้ามหรือไม่สามารถทนต่อยาได้จะเปลี่ยนมาใช้ endoscopic variceal ligation  ส่วนรายละเอียดของการใช้ยาดังตารางด้านล่างครับ

กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น