วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,384. Adult primary care after childhood acute lymphoblastic leukemia

Adult primary care after childhood acute lymphoblastic leukemia
Clinical Practice
N Engl J Med   October 13, 2011

Acute lymphoblastic leukemia(ALL) เป็นโรคมะเร็งในวัยเด็กที่พบมากที่สุด ในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการวินิจฉัยประมาณ 2,400 รายในแต่ละปีในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปี มีอัตราการรักษาหายได้เกิน 70% มานานมากกว่า 25 ปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอัตราการอยู่รอดเกิน 85% และในปี 2006 มีผู้ป่วยประมาณ 50,000 คนรอดชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งจะเป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีหรือมากกว่า
เด็กที่เป็น ALL ประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดหลายตัว โดยมีระยะเวลาการให้ 2 ถึง 3 ปี แนวทางการรักษามักจะได้แก่การให้กลูโคคอติคอยด์ขนาดสูง ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งช่วงสิบปีที่ผ่านมามีการให้ยาบางชนิดหรือทุกชนิดขึ้นอยู่กับศูนย์ที่ให้การรักษา โดยมียาดังนี้ vincristine, mercaptopurine, methotrexate, asparaginase, anthracyclines (typically doxorubicin), alkylating agents (มักเป็น cyclophosphamide) และ topoisomerase II inhibitors (etoposide or teniposide)
ในการรักษาช่วงแรกได้ให้การฉายแสงที่สมองหรือสมอง-ไขสันหลังเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งในปี 1970 และ 1980 ขนาดรังสีที่ใช้คือ 24 Gy และ18 Gy ของการฉายแสงที่สมอง ต่อมาได้รับการพิจารณาถึงผลข้างเคียง จึงได้ลดขนาดของรังสีลงหรือไม่ให้และให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงทาง systemic และการให้ทางช่องไขสันหลังแทน การฉายแสงที่ระบบประสาทส่วนกลางยังคงใช้ในผู้ป่วยผู้ซึ่งมีโรคของระบบประสาทส่วนกลางเมื่อให้การวินิจฉัยหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคกับระบบประสาทส่วนกลางร่วมด้วย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย 
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
  -Obtaining a Treatment Summary
  -Health Risks after Childhood Leukemia
    Cancer
    Cardiovascular Toxicity
    Skeletal Toxicity
    Other Organ Toxicity
    Neurocognitive and Developmental Impairment
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information
Key Clinical Points


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น