วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

762. Somatization disorder

บางครั้งมีกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางกายหลายอย่าง แต่ตรวจไม่พบความผิดปกติหรือสาเหตุที่ชัดเจน ถ้าสงสัยว่าอาจจะเป็น Somatization disorder จะมีแนวทางในการวินิจฉัยอย่างไร

Somatization disorder
การวินิฉัย
A. มีประวัติของการแจ้งอาการต่าง ๆ ทางร่างกายมากมาย ซึ่งเริ่มก่อนอายุ 30 ปี โดยมีอาการอยู่เป็นระยะเวลาหลายปี และทำให้ต้องแสวงหาการรักษา หรือทำให้กิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆ ที่สำคัญ บกพร่องลง
B. ต้องเข้ากับแต่ละข้อของเกณฑ์ต่อไปนี้ โดยมีแต่ละอาการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของการดำเนินโรค)
(1) อาการของความปวด 4 อาการ: มีประวัติของอาการปวดเกี่ยวข้องกับอย่างน้อย 4 ตำแหน่งหรือด้าน ที่แตกต่างกัน (เช่น ศีรษะ ท้อง หลัง ข้อ แขนขา หน้าอก ทวาร ขณะมีประจำเดือน ขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือระหว่างปัสสาวะ)
(2) อาการของระบบทางเดินอาหาร 2 อาการ: มีประวัติของอาการทางระบบทางเดินอาหารซึ่งไม่ใช่อาการปวด อย่างน้อย 2 อาการ (เช่น คลื่นไส้ แน่นท้อง อาเจียนซึ่งไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ท้องร่วง หรือมีอาการไม่สบายหลังรับประทานอาหารอยู่หลายชนิด)
(3) อาการทางเพศ 1 อาการ: มีประวัติของอาการทางเพศหรือระบบสืบพันธุ์ซึ่งไม่ใช่อาการปวด อย่างน้อย 1 อาการ (เช่น เฉื่อยชาทางเพศ อวัยวะเพศแข็งตัวหรือมีปัญหาการหลั่งน้ำกาม ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมามาก อาเจียนตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์)
(4) อาการซึ่งคล้ายอาการทางระบบประสาท 1 อาการ: มีประวัติของอาการหรือความบกพร่องซึ่งส่อถึงความผิดปกติทางระบบประสาทโดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะอาการปวด อย่างน้อย 1 อาการ (อาการ conversion เช่น กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน หรือการทรงตัวเสียไป อัมพาตหรืออ่อนแรงเฉพาะที่ กลืนลำบากหรือรู้สึกมีก้อนติดคอ ไม่มีเสียง ปัสสาวะไม่ออก ประสาทหลอน การรับรู้ด้านสัมผัสทางผิวหนังหรือความปวดเสียไป เห็นภาพซ้อน มองไม่เห็น หูหนวก ชัก อาการ dissociation เช่น amnesia หรือไม่รู้สึกตัว นอกเหนือจากการเป็นลม)
C. มี (1) หรือ (2)
(1) หลังจากการส่งตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมแล้ว ไม่สามารถจะอธิบายแต่ละอาการในเกณฑ์ข้อ B จากภาวะความเจ็บป่วยทางกายที่มีอยู่ หรือจากการใช้สารได้ (เช่น การใช้สารในทางที่ผิด หรือจากยา)
(2) หากมีภาวะความเจ็บป่วยทางกายอยู่ การแจ้งอาการทางกาย หรือผลกระทบในด้านสังคมหรืออาชีพการงานมีมากเกินกว่าที่คาดว่าน่าจะเป็น เมื่อดูจากประวัติ การตรวจร่างกาย หรือผลทางห้องปฏิบัติการ
D. ผู้ป่วยไม่ได้จงใจก่ออาการ หรือแกล้งทำ (ดังใน Factitious Disorder หรือ Malingering)

Ref: http://www.ramamental.com/dsm/somatization_disorder.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น