วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1,828 ข้อควรทราบเรื่องอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)

เตรียมการสอนเรื่องอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea) โดยใช้เนื้อหาข้อมูลจาก แนวทางการดูแลรักษาอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย จึงนำมาสรุปพอสังเขปไว้ครับ
-อุจจาระร่วงเฉียบพลันหมายถึงการถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชม. หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่า
-อุจจาระร่วงเฉียบพลันหมายถึงการมีอาการน้อยกว่า 14 วัน
-การตรวจหน้าท้องเป็นสิ่งที่จะเป็นต้องกระทำทุกราย การคลำจะต้องทำทั้ง light และ deep palpable ซึ่งปกติไม่ควรจะมี tenderness, guarding, rigidity, rebound tenderness ถ้ามีให้สงสัยว่าอาจจะมีภาวะอื่นแทรกซ้อนหรือมิได้เป็นแค่อุจจาระร่วงเฉียบพลันธรรมดา ต้องให้การตรวจวินิจฉัย ติดตามใกล้ชิด
-ถ้ามีอุจจาระเป็นมูกเลือดไม่ควรให้ยาต้านอุจจะระร่วง เช่น loperamide, diphenoxylate codeine เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนในลำใส้มากขึ้นและอาจติดเชื้อเข้ากระแสเลือดมากขึ้นโดยเฉพาะยาลดการเคลื่อนไหวของลำใส้ (antispamodic)
 -ในรายที่สงสัยว่าอาจจะมีการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดหรือเพื่อป้องการการติดเชื้อแทรกซ้อนสู่กระแสเลือด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำต่างๆ หรือมีแนวโน้มที่เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดง่าย เช่น เบาหวาน โรคตับแข็ง อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะได้เร็วขึ้น โดยครอบคลุมเชื้อแกรมลบ และอาจให้ยาโดยทางหลอดเลือดเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่มากพอในกระแสเลือดถ้าพิจารณาแล้วว่ามีอาการรุนแรง (จุดนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมากและมีการกล่าวที่ใกล้เคียงหลายช่วง ขอให้อ่านและพิจารณาจากอ้่างอิงข้างล่างอีกครั้ง)
-ยากลุ่ม anticholinergics เช่น hyoscine, hyoscyamine, dicyclomine ไม่ค่อยได้ผลดีในการลดปริมาณอุจจาระ แต่จะช่วยลดอาการปวดท้องได้ดีกว่า
-อาการแสดงของการขาดน้ำและเกลือแร่ในผู้ใหญ่มักไม่ปรากฎเด่นชัดเท่าในเด็กเล็ก เนื่องจากผู้ใหญ่มีกลไกการแก้ไขดีกว่าเด็ก มี fluid reserve มากกว่า และ tissue elastic ในผู้ใหญ่ไม่ดีเท่าในเด็ก ทำให้ fluid shift จาก extracellular space เคลื่อนไหวได้ช้ากว่าในเด็ก
-การประเมินความรุนแรง ใช้ทั้งอาการ (subjective symptoms) และอาการแสดง (objective signs) ร่วมกันในการประเมิน ซึ่งความรุนแรง แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ mild, moderate, severe
-ส่วนใหญ่เมื่อทราบผลเพาะเชื้อจากอุจจาระ ผู้ป่วยมักจะหายจากอุจจาระร่วงแล้ว แต่ถ้าทราบผลแล้วและผู้ป่วยยังไม่หาย ควรจะให้การรักษาตามผลการเพาะเชื้อนั้น แต่ถ้าไม่ทราบผลเพาะเชื้ออาจอาศัยข้อมูลหรือแนวทางที่มีการทำไว้ (ดังในตารางในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งสามารถ download จากลิ้งค์ด้านล่าง) เพื่อเป็นข้อพิจารณาว่าควรจะใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่และจะเลือกให้ตัวใด และต้องระลึกว่าเชื้อบางตัวถึงแม้จะเพาะเชื้อขึ้น แต่มิได้หมายความว่าจะต้องให้เสมอไปในทุกราย มีผู้ป่วยเพียงบางรายเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์จากการให้ยาปฏิชีวนะ

อ้างอิงและอ่านต่อ: http://www.gastrothai.net/files/11.guideline%20Diarrhea%201.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น