Original article
N Engl J Med June 14, 2012
แม้จะมีความชุกที่เพิ่มมากขึ้นของเบาหวานชนิดที่ 2 ในคนอายุน้อย โดยมีข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับแนวทางในการรักษา โดยได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ 3 แนวการทางการรักษาเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในเด็กและวัยรุ่นที่เพิ่งเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
โดยผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีอายุ10 ถึง17 ปี ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยา metformin (ขนาด 1,000 มิลลิกรัมวันละสองครั้ง) เพื่อให้บรรลุค่า glycated hemoglobin ที่น้อยกว่า 8% โดยถูกสุ่มให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยยา metformin เพียงอย่างเดียว หรือใช้ metformin ร่วมกับยา rosiglitazone (4 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง) หรือใช้ metformin ร่วมกับโปรแกรมการปรับเปลี่นพฤติกรรมซึ่งมุ่งเน้นไปที่การลดน้ำหนักตลอดจนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ผลลัพธ์หลักคือการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามที่กำหนด (นิยามคือ glycated hemoglobin ตั้งแต่ 8% เป็นเวลา 6 เดือนหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลิน)
มีผู้เข้าร่วม 699 โดยวิธีการสุ่ม (ระยะเวลาเฉลี่ยของการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ที่่ 7.8 เดือน), มีจำวนวน 319 คน (45.6%) เข้าถึงผลลัพท์หลักในช่วงเวลาของการติดตามเฉลี่ยที่ 3.86 ปี โดยพบว่าอัตราของความล้มเหลวคือ 51.7% (120 จาก 232 คน), 38.6% (90 จาก 233) และ 46.6% (109 จาก 234) สำหรับยา metformin เพียงอย่างเดียว, metformin ร่วมกับ rosiglitazone และ metformin ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามลำดับ
Metformin ร่วมกับ rosiglitazone เหนือกว่ายา metformin เพียงอย่างเดียว (p = 0.006); metformin ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอยู่ระดับกลางๆ แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากยา metformin เพียงอย่างเดียวหรือ metformin ร่วมกับ rosiglitazone
การวิเคราะห์ที่ยังไม่จำเพาะตามเพศและเชื้อชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์พบความแตกต่างในความมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยมีเพียง metformin อย่างเดียวที่มีประสิทธิภาพน้อยในคนที่ไม่ใช่ Hispanic ผิวดำที่เข้าร่วมการศึกษา, metformin ร่วมกับ rosiglitazone มีประสิทธิภาพมากที่สุดในผู้หญิง ผลข้างเคียงรุนแรงมีรายงาน 19.2% ของผู้เข้าร่วมการศึกษา
การรักษาด้วยยา metformin อย่างเดียวมีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ยั่งยืนประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กและวัยรุ่นที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้พบว่า rosiglitazone (แต่ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) มีประสิทธิภาพเหนือกว่า metformin อย่างเดียว
อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1109333
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555
1,849 A clinical trial to maintain glycemic control in youth with type 2 diabetes
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น