วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1,834 ข้อควรทราบเรื่องการติดตามภายหลังการให้วัคซีนตับอักเสบบี

แผนกโอพีดีซึ่งดูแลเรื่องการตรวจสุขภาพของบุคลากรใน รพ. สอบถามว่าจะต้องตรวจดูภูมิคุ้มกันของไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่อย่างไร และจำเป็นต้องมีการให้กระตุ้นหรือไม่ 
จึงทบทวน โดยพบข้อมูลจาก CDC (ซึ่งเคยนำมาลงไว้แล้วในกระทู้ที่ 434 แต่จะนำมาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้อีกครั้งครับ)
ผู้ใดควรได้รับการตรวจหลังได้วัคซีน
-ทารกที่เกิดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นบวก
-บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกของแหลมทิ่มตำหรือเยื่อบุที่จะสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่ง
-ผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง ติดเชื้อเอชไอวี หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับการปลูกถ่ายเซลของระบบเลือดหรือได้การรักษาด้วยเคมีบำบัด
-คู่นอนของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
เมื่อไรจะทำการตรวจดูภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีน
การตรวจดูแอนติบอดี้ (anti-HBs) ประจำปีและการให้วัคซีนกระตุ้น (blooster doses) จะพิจารณาในกรณีผู้ที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
-ควรตรวจ 1-2 เดือนหลังได้วัคซีนครบคอร์ส สำหรับในทารกที่มารดามี HBsAg เป็นบวก ควรตรวจ 1-2 เดือนหลังจากได้วัคซีนครบตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป (เช่นอายุ 9-18 เดือน ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นครั้งต่อไปที่นัดมาตรวจในคลินิก well-child) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพบ anti-HBs จาก Hepatitis B immune globulin ที่ให้ตอนแรกคลอดและเพื่อให้สามารถตรวจพบภาวะ late HBV infection ได้มากที่สุด การตรวจไม่ควรทำก่อนอายุ 9 เดือนหรือภายใน 4 สัปดาห์ที่เพิ่งได้รับวัคซีน
การให้วัคซีนกระตุ้น (booster doses) จะแนะนำในกรณีใด
-ในผู้ที่ฟอกเลือด โดยการตรวจดูแอนติบอดี้ (anti-HBs) ประจำปีละครั้ง จะให้ซ้ำเมื่อระดับลดลงต่ำกว่า 10 mIU/mL.
-ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับการปลูกถ่ายเซลของระบบเลือดหรือได้การรักษาด้วยเคมีบำบัด  จะให้ซ้ำเมื่อระดับลดลงต่ำกว่า 10 mIU/mL.
-การตรวจ anti-HBs เป็นประจำทุกปีและการให้วัคซีนกระตุ้นซ้ำจะพิจารณาในผู้ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคอย่างต่อเนื่อง
โดยในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้นกันปกติที่ได้รับวัคซีนแล้วไม่มีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ

Ref: http://www.cdc.gov/hepatitis/HBV/HBVfaq.htm

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15/8/58 09:04

    แสดงว่าไม่ได้ฉีดวัคซีนให้บุคลากรทุกตำแหน่งใช่มั้ยคะ

    ตอบลบ
  2. ใช่ครับ ้เพราะบุคลากรบางหน่วยงานก็มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ เพราะอาจไม่ได้ทำงานที่สัมผัสกับเลือด-สารคัดหลั่ง ซึงในลิ้งหนังสือคำแนะนำการให้วัคซีนในบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข ด้านล่างนี้มีรายละเอียดพอสมควร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ครับ http://thaigcd.ddc.moph.go.th/mediapublics/download/177

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ30/8/58 12:32

      ขอบคุณมากๆคะ

      ลบ