วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

812. Inferior wall MI [ST elevation ]

EKG ของชาย 38 ปี มาด้วย typical chest pain,  ขอถามว่า

1.เส้นเลือดหลักที่คิดว่ามีการอุดตันชื่อ..........
2.นอกเหนือจากเส้นเลือดในข้อ 1. แล้วมีโอกาสเป็นเส้นใดได้อีก และมีวิธีการดูอย่างไร.........
3.นอกจาก EKG 12 lead ที่ทำตามปกติแล้วต้องทำ EKG ตำแหน่งอื่นใดเพิ่มหรือไม่อย่างไร..........
4.Reciprocal change in EKG คือ........เนื่องจาก...........
5.อาจจะมีตำแหน่งอื่นของหัวใจบ้างที่อาจเกิดการขาดเลือดได้แก่............
6.ผู้ป่วยจะมาด้วย typical chest pain ประมาณกี่เปอร์เซนต์...........
7.ถ้าไม่ได้มาด้วย  typical chest pain จะมาด้วย...............
8.มีโอกาศเกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง............
9.อัตราการเสียชีวิตเป็นอย่างไร...............
10.ความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน อัตราการเสียชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับ anterior wall STEMI.........
11.การรักษาหลักๆ คือ.............
12.ถ้าอายุน้อยจะต้อง W/U อะไรเพิ่มบ้าง...........
13.Typical chest pain หมายถึง...........

-80% ของ inferior wall เลี้ยงโดย right coronary artery ( RCA) ที่เหลือเป็น left circumflex artery (LCx) การจะแยกสามารถดูได้จากแผนภาพด้านล่าง ตำแหน่งอื่นที่สามารถเกิดการขาดเลือดได้แก่ Right ventricular โดยพบร่วมด้วยได้ประมาณ 40% เนื่องจากเลี้ยงด้วย RCA เช่นกัน (เกิดการอุดตันที่ proximal RCA)  การตรวจดูโดยการทำ EKG lead V4R ส่วน posterior wall ที่เลี้ยงโดย LCx จะดูที่ leads V7 - V9 ว่ามี ST ยกสูงขึ้นหรือไม่
-อัตราการเสียชีวิตประมาณ 11% ในที่ที่ยังไม่มีการให้ยาละลายลิ่มเลือด และเหลือ 3.5%–9% ถ้าได้รับยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของ anterior wall MI เนื่องจาก  inferior wall MI จะมีพื้นที่ของการขาดเลือดน้อยกว่า  ภาวะแทรกซ้อนและระยะเวลาในการรักษาก็น้อยกว่า
-ประมาณ 85% ของผู้ป่วยมาด้วย typical chest pain อีก15% มาด้วย atypical symptoms เช่น epigastric burning or pain, dyspnea หรือ syncopal  อาการอื่นที่พบร่วมด้วยได้แก่ sweating 88%, vomiting 31%, nausea 40%, sinking of heart 35% และ palpitation 38%
-Heart block (atrio-ventricular block) พบได้บ่อยเพราะ right coronary artery  เลี้ยง AV node และส่วน infero-basal ของ left ventricle ด้วย รวมทั้ง vagal reflex เกิดในบริเวณนี้ได้มาก
-Reciprocal changes ใน inferior wall MI พบได้ 70% เกิดเนื่องจาก negative deflections ใน leads ที่อยู่ตรงข้ามกับบริเวณที่มีการขาดเลือด เกิดลักษณะของ “mirror image” ใน lead 1, aVL
-การรักษาหลักคือ thrombolytic therapy แต่ก็ยังมีบางส่วนยังมีความเห็นในการรักษาแตกต่าง ส่วนถ้ามี RV infarction และความดันต่ำให้ challenge สารน้ำ
-ผู้ป่วยที่เป็น MI ที่อายุน้อยกว่า 45 ปี ต้องคิดถึงหรือตรวจหาสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ Substance misuse, coronary artery anomalies, premature coronary artery disease และ hypercoagulable state 
-Typical chest pain: pain is felt under the sternum or chest bone and is characterized by a heavy or squeezing feeling often caused by exertion or emotions. Angina is usually experienced as discomfort or tightness, or pressure in the chest or in the back, neck, jaw, shoulders and arms (especially the left arm)

http://smj.sma.org.sg/5010/5010a1.pdf
http://www.cepcp.ca/main/paramedic/cme/Section%202.pdf
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra022700
http://www.mayoclinic.org/chest-pain/types.html
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1743402/pdf/v081p00741.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น