Self-monitoring Blood Glucose (SMBG) มีหลักการและข้อบ่งชี้อย่างไร
หลักการและเหตุผล : ผู้ที่เป็นเบาหวานโดยเฉพาะชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินจะมีระดับน้ำตาล(กลูโคส) ในเลือดสูงขึ้น หรือลดลงตลอดเวลาในแต่ละวัน โดยสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และความรุนแรงของโรค ดังนั้นการทำSMBG บ่อยๆ จึงเป็นการติดตาม ประเมินผลการรักษาและความรุนแรงของโรคได้ดี ค่าของ SMBG ที่ได้ต้องนำมาใช้ประโยชน์ในตอนนั้นทันที ไม่ใช่เพื่อจดแล้วนำผลมาให้คุณหมอดูในการตรวจครั้งต่อไปเท่านั้น การจดบันทึกจะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อเราบันทึกผลเลือด+อาหาร+กิจกรรม+ยาฉีด ควบคู่กันไป ทั้งหมดเพราะจะช่วยให้การดูแลรักษาได้ผลมากยิ่งขึ้น
ข้อบ่งชี้
-ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes type I) แบบร่างกายไม่สร้างอินซูลินเลย ต้องคอย ให้อินซูลินชนิดฉีดให้แทน ต้องค่อยควบคุมให้คงที่
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes type II) เฉพาะในรายที่มีระดับน้ำตาลสูง และได้ รับการรักษาด้วยอินซูลิน
- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเจ็บป่วย หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น เหงื่อออก หิว ใจสั่น หงุดหงิดประโยชน์ก็เพื่อจะได้ทราบภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้น เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมา
ความถี่บ่อยของการทำ
อยู่ในช่วงของการรักษา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ต้องทำSMBG อย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง (ก่อนอาหาร 3 มื้อและก่อนนอน)
ถ้าการรักษามีปัญหามาก การทำ SMBG ควรถี่มากกกว่า 4 ครั้ง/วัน เพื่อหาสาเหตุ
ถ้าทำการรักษาเป็นไปตามปกติ ค่าBG คงที่ และHbA1C อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ ก็อาจจะลดลงได้ แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด ควรทำ SMBG วันละ 4 ครั้ง
http://www.thailabonline.com/Endo1.htm
http://www.thaidiabetes.com/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=42
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553
440. Self-monitoring Blood Glucose (SMBG)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น